โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาต้นแบบการดูแลแบบประคับประคองและผู้สูงอายุระยะท้ายที่บ้าน

ญาติผู้ดูแลให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและผู้สูงอายุระยะท้ายที่บ้าน ประกอบด้วย 1) การดูแลด้านร่างกาย 2) การดูแลเรื่องการับประทานยา 3) การดูแลด้านจิตใจ 4) การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน 5) การดูแลความสุขสบายตามความเชื่อ ปัญหาและอุปสรรคในการดูแลระยะท้ายและผู้สูงอายุที่บ้าน สรุปได้ 2 ประเด็นได้แก่ 1) ความไม่มั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และ 2) ค่าใช้จ่ายในครอบครัวสำหรับความต้องการการสนับสนุน ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนด้านค่าใช้จ่าย 2) ต้องการได้รับการรักษาที่ดีที่สุด 3) การจัดบริการที่สะดวกและรวดเร็ว 4) การได้รับคำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง 5) การดูแลอย่างต่อเนื่อง 6) การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา 7) คนดูแลสลับเปลี่ยนระหว่างไปทำงาน และ 8) สิ่งสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องและการดูแลหลังการสูญเสียในชุมชน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านและการช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคมและเศรษฐกิจ จะช่วยให้ญาติสามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างต่อเนื่อง    

bua

November 7, 2022

โครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์และการพัฒนาบริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชนโดยใช้แนวคิดการสาธารณสุขมูลฐาน

การทำงานแบบประคับประคองโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของระบบสุขภาพอำเภอดำเนินการในประเด็น 1) การเตรียมกำลังคนด้านสุขภาพเกี่ยวกับบริการแบบประคับประคองในโรงพยาบาลชุมชน 2) การสื่อสารของทีมสุขภาพที่ทำงานเกี่ยวกับบริการแบบประคับประคองในระบบสุขภาพอำเภอ 3) การอบรมอาสาสมัครในชุมชน 4) ระบบการทำงานบริการแบบประคับประคองตามบริบทของพื้นที่ (การค้นหาผู้ที่ต้องการบริการแบบประคับประคองในชุมชน การประเมิน การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผล) 5) การทำงานของบริการแบบประคับประคองกับกองทุนการดูแลผู้ป่วยระยะยาวในพื้นที่ 6) การบริหารจัดการยากลุ่ม opioid 7) การบริหารอุปกรณ์ และ 8) การดูหลังเสียชีวิต ข้อเสนอแนะในการจัดบริการแบบประคับประคองในชุมชน โดยควรมีการค้นหาผู้ที่ต้องการบริการแบบประคับประคองในชุมชนของอาสาสมัครภาคประชาชนที่ได้รับการอบรม มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนของการทำงานร่วมกับภาคท้องถิ่น ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการแบบประคับประคองได้ตั้งแต่ในระยะแรก  

bua

November 7, 2022

โครงการ การทบทวน สังเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุไทย

โครงการ การทบทวน สังเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุไทยมีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ อาทิ เร่งรัดการเตรียมการเพื่อสูงวัยในประชากรก่อนวัยสูงอายุ บูรณาการความร่วมมือเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุกลุ่มเฉพาะ ปรับปรุงและติดตามและประเมินผลภายใต้สถานการณ์ที่มีหลายแผน ปรับปรุงแนวทางการจัดทำแผนงานบูรณาการให้เป็นแผนร่มใหญ่ สังคายนาขอบเขตของบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานผู้สูงอายุ เสริมพลังให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังขาดศักยภาพ นำแนวคิด “สูงวัยในถิ่นเดิม” หรือ Ageing in Place เป็นหลักการพื้นฐานในการจัดทำแผนผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ ผลิตชุดองค์ความรู้เพื่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฐานข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น การศึกษาเชิงสถาบันที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุและโอกาสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระดับสถาบัน ทัศนคติของประชาชนในเรื่องของ Social Justice (Universal VS. Targeting) กับการมีส่วนร่วมในการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมเพื่อรองรับการใช้ชิวิตยามชราภาพ แหล่งที่มาของเงินเพื่อรองรับสังคมสูงวัย การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเชิงระบบและปฏิสัมพันธ์กับการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค    

bua

November 7, 2022

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2021

This Report on the Situation of Thai Older Persons in 2021 is the second edition with a special section on the impact of COVID-19 on Thai older persons. The pandemic remains an important theme, as it exposes the vulnerability and inequality of the older generation in societies around the world, and policymakers and the general […]

bua

November 7, 2022

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่สองที่นำเอาเรื่องการระบาดของ โควิด-19 กับผู้สูงอายุไทยมาเป็นอรรถบทสำคัญที่จะทำให้เห็นข้อมูลและข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่ ผู้สูงอายุไทยเผชิญอยู่ในภาวะของโรคระบาดระดับโลกและเป็นโรคระบาดที่ต้องยอมรับว่าฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนโยบายหรือประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งในวงการสาธารณสุขเองก็มีประสบการณ์ น้อยมากว่าจะอยู่กับการควบคุมการระบาดของโรคอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ที่พยายามควบคุมการระบาด โควิด-19 กระทบชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในสังคม ถึงขั้นมีคำกล่าวว่า กลัวอด ไม่กลัวโควิด รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 หวังจะสะท้อนข้อมูลส่วนหนึ่งจากมุมมองของผู้สูงอายุไทย เท่าที่ได้มีการรวบรวม หรือศึกษาเจาะลึก โดยฝ่ายต่างๆ    

bua

November 7, 2022

โครงการพัฒนาและประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลางในเขตชุมชนเมือง

ระบบที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในปัจจุบันยังมีปัญหาในการดำเนินงาน ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถสรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในภาพรวม ในเรื่อง ระบบการชดเชยค่าบริการการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง การสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมให้บริการ การพัฒนาระบบการส่งต่อ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้สิทธิ์ในการได้รับการดูแลระยะกลาง การขยายบริการนี้ไปสู่สิทธิการรักษาพยาบาลอื่นๆ  

bua

November 7, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   การเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจในการพัฒนาที่พักอาศัยแบบ senior complex ซึ่งอาจยังไม่ตอบโจทย์กับผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดและขาดระบบริการสนับสนุนที่สำคัญ แนวคิด “สูงวัยในถิ่นเดิม” (aging in place) จะช่วยเติมเต็มความต้องการและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเองได้อย่างอิสระและมีความปลอดภัย    

bua

September 12, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   มุมมองอันเป็นอคติต่อผู้สูงอายุว่าเป็นผู้รอรับการช่วยเหลือและไม่ช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุ “สังคมสูงวัย” ของประเทศไทยนั้น หากภาครัฐและเอกชนสามารถเปิดกว้างและส่งเสริมศักยภาพด้านการทำงานและสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ ไม่เพียงช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น แต่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษกิจของประเทศและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน    

bua

September 12, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง แก่แบบสบาย สูงวัยแบบสง่า

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง แก่แบบสบาย สูงวัยแบบสง่า มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   ระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถรับมือกับ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) และการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วได้มีประสิทธิภาพและทั่วถึงได้อย่างไร ดังที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2021 – 2030 เป็น “ทศวรรษแห่งการสูงวัยที่มีสุขภาพดี” สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้อยู่สบายและสง่างาม    

bua

September 12, 2022
1 2 3 4 42