โครงการการศึกษานโยบายและการดำเนินงานการป้องกันหกล้มในผู้สูงอายุในประเทศไทย 

โครงการการศึกษานโยบายและการดำเนินงานการป้องกันหกล้มในผู้สูงอายุในประเทศไทย  โดย รศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา     จากการศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยและการดำเนินมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุไทย โดยการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทำให้ทราบความอุบัติการณ์ของการหกล้ม ปัจจัยเสี่ยง และแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินนโยบายการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

bua

March 22, 2021

โครงการทำไมผู้สูงอายุโพสต์และแชท: การศึกษาการใช้สื่อออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือของผู้สูงอายุ

โครงการทำไมผู้สูงอายุโพสต์และแชท: การศึกษาการใช้สื่อออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือของผู้สูงอายุ โดย ดร.ประชาธิป กะทา ผู้สูงอายุไม่ได้รู้สึกแปลกแยกกับเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์และเทคโนโลยีมือถือกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตผู้สูงอายุ รวมทั้งแพลตฟอร์มของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนขยายชีวิตทางสังคมในโลกชีวิตจริงของผู้สูงอายุ

bua

March 22, 2021

โครงการ การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายรัฐด้านการจัดการที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย

โครงการ การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายรัฐด้านการจัดการที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย โดย ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ระบบบริการทางสังคม การเข้าถึงและคุณภาพของที่อยู่อาศัย กลุ่มผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ต่ำและยากจน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการอยู่อาศัยร่วมกันของคนหลากหลายวัย และ เน้น 5 กลไกสำคัญ ได้แก่ การเสริมพลัง กรอบกฎระเบียบและมาตรฐาน ความร่วมมือระหว่างภาคส่วน การกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่น และการติดตามและประเมินผล

bua

March 22, 2021

โครงการ “รูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยในเขตเมือง เพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยและการดูแลที่เหมาะสม” 

โครงการ “รูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยในเขตเมือง เพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยและการดูแลที่เหมาะสม” โดย ผศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน รูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง ครัวเรือนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอดีต จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีระบบการดูแลและบริการผู้สูงอายุในเขตเมือง ในลักษณะที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุในที่อยู่อาศัยเดิมได้และสอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่เขตเมืองที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

bua

March 22, 2021

โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย

โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย โดย นพ.สกานต์ บุนนาค ภาระโรคส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุเกิดจากกลุ่มโรค NCD 95% ของผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติหรือคนรู้จักดูแลไม่มีกำลังจ้างหรือซื้อบริการการดูแลจากเอกชน รัฐจึงควรใช้จุดเด่นของสังคมไทยโดยส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือในชุมชนให้มากที่สุด และสนับสนุนการดูแลในสถานพยาบาลเท่าที่จำเป็น

bua

March 22, 2021

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ภุชงค์ เสนานุช ศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 แห่ง  ทั้งนี้ สถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจหลักในการดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์  ผลที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ จะนำไปสู่การปรับปรุงภารกิจ มาตรการ รวมถึงแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดย ศ.ระพีพรรณ คำหอม โครงการ “การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ”ศึกษาสถานการณ์และนโยบายผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในศูนย์ฯ จำนวน 12 แห่ง แนวคิดและนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในสถาบันเป็น Protective Welfare บริการที่จัดให้เป็นบริการเชิงสงเคราะห์

bua

March 22, 2021

โครงการ ผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

โครงการผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดย รศ.ดร. วรรณลักษณ์ เมียนเกิด งานวิจัยนี้มีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบการให้บริการ รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต โดย ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา ระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันมีหลายระบบย่อยที่มีกฎหมาย หน่วยงานรับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับดูแล กฎกติกา และแหล่งที่มาของเงินแตกต่างกัน ระบบมีการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้าในส่วนของบำนาญระดับพื้นฐานและบำนาญส่วนเพิ่มอื่น แต่ความครอบคลุมยังจำกัด ความพอเพียงมีเฉพาะประชาชนในบางกลุ่ม ภาระค่าใช้จ่ายด้านบำนาญมีสัดส่วนต่อรายจ่ายจริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ ในอนาคตรัฐบาลควรที่จะวางยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ มองผู้รับประโยชน์เป็นศูนย์กลาง และมีคณะกรรมการพิจารณาภาพรวมของระบบ

bua

March 22, 2021
1 10 11 12 13 14 42