โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย

โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย โดย นพ.สกานต์ บุนนาค ภาระโรคส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุเกิดจากกลุ่มโรค NCD 95% ของผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติหรือคนรู้จักดูแลไม่มีกำลังจ้างหรือซื้อบริการการดูแลจากเอกชน รัฐจึงควรใช้จุดเด่นของสังคมไทยโดยส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือในชุมชนให้มากที่สุด และสนับสนุนการดูแลในสถานพยาบาลเท่าที่จำเป็น

bua

March 22, 2021

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ภุชงค์ เสนานุช ศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 แห่ง  ทั้งนี้ สถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจหลักในการดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์  ผลที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ จะนำไปสู่การปรับปรุงภารกิจ มาตรการ รวมถึงแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดย ศ.ระพีพรรณ คำหอม โครงการ “การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ”ศึกษาสถานการณ์และนโยบายผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในศูนย์ฯ จำนวน 12 แห่ง แนวคิดและนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในสถาบันเป็น Protective Welfare บริการที่จัดให้เป็นบริการเชิงสงเคราะห์

bua

March 22, 2021

โครงการ ผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

โครงการผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดย รศ.ดร. วรรณลักษณ์ เมียนเกิด งานวิจัยนี้มีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบการให้บริการ รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต โดย ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา ระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันมีหลายระบบย่อยที่มีกฎหมาย หน่วยงานรับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับดูแล กฎกติกา และแหล่งที่มาของเงินแตกต่างกัน ระบบมีการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้าในส่วนของบำนาญระดับพื้นฐานและบำนาญส่วนเพิ่มอื่น แต่ความครอบคลุมยังจำกัด ความพอเพียงมีเฉพาะประชาชนในบางกลุ่ม ภาระค่าใช้จ่ายด้านบำนาญมีสัดส่วนต่อรายจ่ายจริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ ในอนาคตรัฐบาลควรที่จะวางยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ มองผู้รับประโยชน์เป็นศูนย์กลาง และมีคณะกรรมการพิจารณาภาพรวมของระบบ

bua

March 22, 2021

โครงการ การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย Active and Productive Aging ระยะที่ 3

โครงการ การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย Active and Productive Aging ระยะที่ 3 โดย นางสุทธิกานต์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ การทบทวนและจัดกระบวนการเพื่อจัดทำแผนการวิจัย เพื่อเตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การวิจัย และโครงร่างการวิจัยด้าน Active and Productive Aging ระยะที่ 3 เพื่อให้ได้กรอบการวิจัยและและโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์ท้าทายการทำงาน    

bua

March 22, 2021

เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยตอนที่ 8 : สร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมนันทนาการ

“พัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม  รวมถึงการสร้างความผ่อนคลาย” เป็นข้อดีของการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ  การนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมยามว่างเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือความบันเทิง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ

noawarat

February 8, 2021

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ตอนที่ 7 มีงาน-มีเงิน ต่ออายุเกษียณ 3 ปี -สร้างแรงจูงใจภาคเอกชนจ้างงานผู้สูงวัย

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือหลักประกันด้านการทำงานและการมีรายได้  ผู้สูงอายุควรมีโอกาสประกอบอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ที่พอเพียงแก่การดำรงชีพ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้านอายุ โดยงานที่ทำจะต้องมีสวัสดิการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ อุบัติภัยต่างๆ 

noawarat

February 2, 2021

เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ตอนที่ 6 : เน้นอยู่อาศัยในที่เดิม – เร่งสร้างที่พักต้นแบบ

เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ตอนที่ 6 : เน้นอยู่อาศัยในที่เดิม – เร่งสร้างที่พักต้นแบบ  สวัสดิการสังคมด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุไทย มีด้วยกัน 2 แบบ โดยแบบที่1 เป็นการอยู่อาศัยในที่เดิม ( Ageing in place) ของผู้สูงอายุ ซึ่งก็คือ การปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ และอีกแบบหนึ่งคือการสร้างที่อยู่อาศัยเชิงสถาบัน เช่น การสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ การสร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การสร้างสถานที่พักพิงระยะสุดท้าย และการสร้างบ้านพักคนชรา สำหรับ “การอยู่อาศัยในที่เดิม” ในปี 2562 กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ จำนวน 3200 แห่งวงเงินงบประมาณกว่า 78 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางเอาไว้ นอกจากนี้ในแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ได้มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจำนวน 447,618 หลัง และปรับปรุงที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุรูปแบบประชารัฐจำนวน 14,500 หลังด้วย โดยการปรับปรุงที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุรูปแบบประชารัฐนั้น ได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน […]

noawarat

January 30, 2021
1 6 7 8 9 10 17