โครงการ “การพัฒนาระบบงานเพื่อสร้างเครือข่ายผู้สูงวัยที่มีศักยภาพเชิงรุกในการรองรับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการด้วยวิทยาการข้อมูล”

โครงการ “การพัฒนาระบบงานเพื่อสร้างเครือข่ายผู้สูงวัยที่มีศักยภาพเชิงรุกในการรองรับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการด้วยวิทยาการข้อมูล” ได้รับทุนจากแผนงานบริหารโครงการวิจัยท้าทายไทยกลุ่มเรื่อง Active and Productive Aging  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ความต้องการในการจ้างงานผู้สูงวัยที่มีศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐในการสร้างงาน จ้างงานผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ  คณะวิจัยได้ทำการศึกษาทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สร้างแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสอบถามข้อมูล สัมภาษณ์เชิงลึก จัดเสวนา ทั้งผู้สูงวัยและผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ในการต้องการทำงานของผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ รูปแบบของการทำงานหลังเกษียณอายุของผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ รูปแบบและนโยบายของผู้ประกอบการเพื่อรองรับการจ้างงานผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งรายงานความต้องการของผู้สูงวัยและผู้ประกอบการต่อรัฐบาล และงานวิจัยนี้ได้ศึกษาตัวแบบ AI ที่เป็นไปได้ซึ่งเป็นเพียงโปรแกรมต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการจับคู่เชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์และอุปทานระหว่างฐานข้อมูลทั้งผู้ประกอบการและผู้สูงวัยที่มีศักยภาพในการทำงาน เพื่อเป็นการยืนยันว่าสามารถทำงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 (โปรแกรมการจับคู่เชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์และอุปทานระหว่างฐานข้อมูลทั้งผู้ประกอบการและผู้สูงวัยที่มีศักยภาพในการทำงาน) ต่อได้

noawarat

June 23, 2019

โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย เพื่อส่งเสริมพฤฒิพลังของผู้สูงวัยอย่างเหมาะสมและยั่งยืน: ระยะที่1 – การพัฒนาตัวชี้วัดของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย

โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย เพื่อส่งเสริมพฤฒิพลังของผู้สูงวัยอย่างเหมาะสมและยั่งยืน: ระยะที่1 – การพัฒนาตัวชี้วัดของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย (ภาษาอังกฤษ) Developing age – friendly communities to strengthen active aging with appropriateness and sustainability: Phase1 – Defining the Indicators of age – friendly communities ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ปีงบประมาณ 2560 ชุด งานวิจัยด้านการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงอายุเพื่อมุ่งสู่  Healthy Ageing and Active Ageing เพื่อดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการดำรงชีวิตอย่างอิสระในชุมชนและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เริ่มจากทำการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างตัวชี้วัด โดยการใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group) ทั้งหมด 14 กลุ่ม จากมุมมองของ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจน ผู้สูงอายุที่มีบทบาทในชุมชนการวิเคราะห์เนื้อหา […]

noawarat

June 23, 2019

สุขภาวะทางเพศของผู้สูงวัย ในพื้นที่นครราชสีมา สิงห์บุรี และปทุมธานี

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพ สุขภาวะทางเพศที่ครอบคลุมถึงความต้องการทางเพศ การตอบสนองทางเพศ การร่วมเพศ และความต้องการทางเพศที่ไม่สัมฤทธิ์ ปัญหาและความต้องการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ รวมทั้งความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานทางสังคมของผู้สูงวัยในเรื่องเพศ

panadda

February 17, 2016