รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่สองที่นำเอาเรื่องการระบาดของ โควิด-19 กับผู้สูงอายุไทยมาเป็นอรรถบทสำคัญที่จะทำให้เห็นข้อมูลและข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่ ผู้สูงอายุไทยเผชิญอยู่ในภาวะของโรคระบาดระดับโลกและเป็นโรคระบาดที่ต้องยอมรับว่าฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนโยบายหรือประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งในวงการสาธารณสุขเองก็มีประสบการณ์ น้อยมากว่าจะอยู่กับการควบคุมการระบาดของโรคอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ที่พยายามควบคุมการระบาด โควิด-19 กระทบชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในสังคม ถึงขั้นมีคำกล่าวว่า กลัวอด ไม่กลัวโควิด รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 หวังจะสะท้อนข้อมูลส่วนหนึ่งจากมุมมองของผู้สูงอายุไทย เท่าที่ได้มีการรวบรวม หรือศึกษาเจาะลึก โดยฝ่ายต่างๆ    

bua

November 7, 2022

โครงการ “การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจ้างงานต่อเนื่องในสถานประกอบการและทัศนคติของนายจ้างในภาคเอกชน”

โครงการวิจัยนี้วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของสถานประกอบการภาคเอกชนในด้านการจ้างงานต่อเนื่อง ศึกษาแนวทางการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการภาคเอกชนด้านการจ้างงานต่อเนื่องในสถานประกอบการ และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนโดยภาครัฐที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางการปรับตัวของสถานประกอบการภาคเอกชน โดยรวบรวมข้อมูลจากนิติบุคคลประเภทบริษัท (มหาชน) และบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และยังคงดำเนินการอยู่และมีข้อมูลครบถ้วนสำหรับการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ทั้งนี้ผลการศึกษาพบการจ้างงานผู้สูงอายุหลายรูปแบบและผลดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังต่อไปนี้ ภาคเอกชนมีการจ้างงานผู้สูงอายุในหลากหลายรูปแบบดังนั้นมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุไม่ควรจำกัดเฉพาะแต่การจ้างงานผู้สูงอายุเข้ามาทำงานเท่านั้น ควรพิจารณาส่งเสริมการจ้างงานต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ภาคเอกชนมีความคาดหวังให้รัฐบาลมีบทบาททั้งในส่วนที่ส่งเสริมและเสริมพลังในด้านการจ้างงานผู้สูงอายุ และให้รัฐบาลเป็นตัวอย่างในการดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคราชการเองด้วย บทบาทของนายจ้างภาคเอกชนในด้านการเตรียมความพร้อมของลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นการดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพ การส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเพิ่มพูนประสบการณ์ การเรียนรู้ตลอดชีพ การพัฒนาทักษะด้านไอที ส่งผลให้ลูกจ้างมีโอกาสได้รับการจ้างงานต่อเนื่องแม้มีอายุมากขึ้น รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้บริษัททราบและรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของสังคมสูงวัย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวม รวมถึงมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่กำลังดำเนินการอยู่ (มาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุนำรายจ่ายหักภาษี) ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ รัฐบาลควรที่จะพิจารณามาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุจากมุมมองระยะยาวด้วยเช่นกัน กล่าวคือ นายจ้างไม่ว่าจะเป็นบริษัทระดับใดมีข้อกังวลเกี่ยวกับ “สุขภาพ” ของผู้สูงอายุหากได้รับการจ้างมาทำงาน ดังนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างจัดสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับลูกจ้าง โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมสุขภาพอันจะเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของลูกจ้างในระยะยาว ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวนายจ้างและสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในความหมายที่กว้างขึ้นกว่าที่ดำเนินการอยู่ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจจะพิจารณาสนับสนุนทางภาษีอากร/เผยแพร่ข้อมูล/เชิดชูเกียรติภาคเอกชนที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินมาตรการส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพและ/หรือมาตรการสร้างเสริมทุนมนุษย์ให้กับพนักงานของบริษัทเนื่องด้วยมาตรการดังกล่าวจะสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในการทำงานของพนักงานเมื่อสูงอายุ การส่งเสริมทักษะด้านไอทีและดิจิตัล / การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพิ่มทักษะและประสบการณ์ให้กับพนักงานในองค์กรตั้งแต่เนิ่นจะสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในการทำงานของพนักงานเมื่อสูงอายุในธุรกิจหลายประเภท

noawarat

June 23, 2019

รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย

รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย Education and Lifelong Learning of Thai Senior Citizens โดยรองศาสตราจารย์ ดร. อาชัญญา รัตนอุบล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา ดร.ปาน กิมปี นายระวี สัจจโสภณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

noawarat

February 17, 2016