โครงการ “ศึกษาการดำเนินมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนในประเทศไทย”

การหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงการบาดเจ็บที่รุนแรงเช่นกระดูกสะโพกหรือกระดูกข้อมือหัก หรือเลือดออกในสมอง นอกจากการหกล้มแล้ว ภาวะสมองเสื่อมเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และต้องอาศัยความช่วยเหลือจากญาติและผู้ดูแล ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญในการที่จะป้องกันความพิการ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเอง และลดภาระของญาติและคนในครอบครัว ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้มีกิจกรรมเพื่อป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุผ่านทางชมรมผู้สูงอายุจากหลายๆหน่วยงาน แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายของกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย และความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่ รวมถึงศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และปัญหา/อุปสรรค ของการดำเนินกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะ การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีผลการศึกษาดังต่อไปนี้ นโยบาย/โครงการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในชุมชน ของหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงสาธารณสุข และกลไกการดำเนินการตามนโยบาย พบว่า กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานส่งเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุผ่านทางโครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยสูงอายุ โดยมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบระยะยาว (Long term care) ในชุมชน นอกจากนี้การดำเนินงานด้านการป้องกันพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุดำเนินการผ่าน 4 กรมหลักของกระทรวงสาธารณสุข คือ กรมการแพทย์ กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต และกรมควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นในด้านวิชาการ เช่น การผลิตคู่มือ/แนวทางในการป้องกันฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวิธีการในการป้องกันฯ ของแต่ละกรมมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแต่ละกรมไม่มีการบูรณาการมาตรการ/โครงการด้านผู้สูงอายุร่วมกันให้เป็นภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข การกระจาย/การเข้าถึงในด้านกายภาพและความต่อเนื่องของการดำเนินของมาตรการฯ พบว่าชมรมฯ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75-86) มีการจัดกิจกรรมป้องกันฯ […]

noawarat

June 23, 2019

การถอดบทเรียนและสังเคราะห์ ระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะสะโตร็คและภาวะสมองเสื่อม

โครงการถอดบทเรียนและสังเคราะห์ระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะสะโตร็คและภาวะสมองเสื่อมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อ 1) ถอดบทเรียนระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องของสถานบริการสุขภาพในพื้นที่ที่คัดสรร 2) สังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

noawarat

November 17, 2015

รายงานฉบับสมบูรณ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

รายงานฉบับสมบูรณ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Systematic review of dementia prevention in elderly) โดย ดร.พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี

noawarat

November 17, 2015

ยากันลืม คู่มือป้องกันในผู้สูงอายุ

คนส่วนใหญ่เชื่อกันมาตลอดว่าปัญหาที่เกี่ยวกับสมองประเภทความจำเสื่อม ความจำถดถอย และขี้หลงขี้ลืมนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้อง เกิดขึ้นอย่างแน่นอนในผู้สูงอายุ ทำให้น้อยนักจะมีใครสนใจใส่ใจดูแลตนเองเพื่อให้สมองคงประสิทธิภาพอยู่กับเราไปนานๆ

editor

November 1, 2015