โครงการ “ศึกษาการดำเนินมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนในประเทศไทย”

การหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงการบาดเจ็บที่รุนแรงเช่นกระดูกสะโพกหรือกระดูกข้อมือหัก หรือเลือดออกในสมอง นอกจากการหกล้มแล้ว ภาวะสมองเสื่อมเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และต้องอาศัยความช่วยเหลือจากญาติและผู้ดูแล ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญในการที่จะป้องกันความพิการ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเอง และลดภาระของญาติและคนในครอบครัว ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้มีกิจกรรมเพื่อป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุผ่านทางชมรมผู้สูงอายุจากหลายๆหน่วยงาน แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายของกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย และความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่ รวมถึงศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และปัญหา/อุปสรรค ของการดำเนินกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะ การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีผลการศึกษาดังต่อไปนี้ นโยบาย/โครงการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในชุมชน ของหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงสาธารณสุข และกลไกการดำเนินการตามนโยบาย พบว่า กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานส่งเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุผ่านทางโครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยสูงอายุ โดยมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบระยะยาว (Long term care) ในชุมชน นอกจากนี้การดำเนินงานด้านการป้องกันพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุดำเนินการผ่าน 4 กรมหลักของกระทรวงสาธารณสุข คือ กรมการแพทย์ กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต และกรมควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นในด้านวิชาการ เช่น การผลิตคู่มือ/แนวทางในการป้องกันฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวิธีการในการป้องกันฯ ของแต่ละกรมมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแต่ละกรมไม่มีการบูรณาการมาตรการ/โครงการด้านผู้สูงอายุร่วมกันให้เป็นภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข การกระจาย/การเข้าถึงในด้านกายภาพและความต่อเนื่องของการดำเนินของมาตรการฯ พบว่าชมรมฯ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75-86) มีการจัดกิจกรรมป้องกันฯ […]

noawarat

June 23, 2019

โครงการ “จัดทำข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ”

การวิจัยเรื่อง ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ  1) ศึกษานโยบาย กลไก และมาตรการในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาสภาพจริงของการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม และการรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัย  และ (3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม และการรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัยประชากรงานวิจัยนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มคนต่างช่วงวัย และผู้สูงอายุ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม การรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัย และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)  จำนวน 556 คน  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า  1) จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย กลไก และมาตรการในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มุ่งเน้นด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความมั่นคงหรือการมีหลักประกันของชีวิต มีการจัดทำมาตรการและออกแบบกลไกเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ทุกรูปแบบเน้นการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) จากการศึกษาสภาพจริงของการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ พบว่า มีความหลากหลายของรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุขึ้นกับพื้นที่และหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายที่สนับสนุน มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ […]

noawarat

June 23, 2019

โครงการวิจัย “การทบทวนตัวชี้วัดและระบบข้อมูลเพื่อติดตามประเมิน Active aging สำหรับประเทศไทย”

การวิจัยทบทวนตัวชี้วัดและระบบข้อมูลเพื่อติดตามประเมิน Active ageing สำหรับประเทศไทย เป็นการศึกษาเพื่อทบทวนความหมาย กรอบแนวคิด องค์ประกอบ และตัวชี้วัดของ Active ageing ที่มีการกำหนดในระดับนานาชาติ และในประเทศไทย และเพื่อเสนอทางเลือกตัวชี้วัด Active ageing สำหรับประเทศไทย รวมทั้งระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด Active ageing จากการศึกษากรอบแนวคิดของ Active ageing พบว่าส่วนใหญ่มีการอ้างอิงกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก โดยแบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสุขภาพ (Health) ด้านการมีส่วนร่วม (Social participation) และด้านความมั่นคง (Security) อย่างไรก็ตาม ในระดับนานาชาติ ได้มีการปรับกรอบแนวคิดดังกล่าวในบางประเด็น เช่น การเพิ่มองค์ประกอบด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) หรือการเพิ่มองค์ประกอบด้านศักยภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อภาวะ Active ageing (Capacity and Enabling Environment for Active ageing) เป็นต้น และมีบางกรอบแนวคิดที่กำหนดสุขภาพด้านสติปัญญา (ความจำ) โดยในยุโรป […]

noawarat

June 23, 2019

เมื่อผู้สูงอายุถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ส่วนคนทั่วไปกลับลังเลที่จะช่วย

26% ของผู้สูงอายุโดนคนในครอบครัวทำร้ายจิตใจ 9% ของผู้สูงอายุโดนคนในครอบครัวทำร้ายร่างกาย 32% ของคนทั่วไปลังเลที่จะช่วยเหลือ ตัวเลขเหล่านี้กำลังบอกอะไร เราจะปล่อยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับการละเมิดสิทธิ์อย่างเมินเฉยเช่นนี้หรือ

noawarat

February 23, 2018

เปิดปัญหาและทางออก การดูแลผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิ์

เอกสารสรุปสาระสำคัญของ ชุดโครงการ การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย โครงการศึกษาวิจัยมาตรการกลไกการป้องกันการละเมิดผู้สูงอายุ : โดย รศ.ดร.เดชา สังขวรรณ และคณะ โครงการการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งผู้ปกครองทรัพย์สินผู้สูงอายุ : โดย ผศ.ดร.ภูมิมูลศิลป์และคณะ โครงการสินเชื่อ Reverse Mortgage สำหรับผู้สูงอายุไทย : โดย รศ.ดร.สันติถิรพัฒน์และคณะ

noawarat

December 27, 2017

เอกสารประกอบเวทีเสวนา สถานการณ์ “ผู้สูงอายุถูกละเมิด : ใครดูแล”

เวทีเสวนา สถานการณ์ “ผู้สูงอายุถูกละเมิด : ใครดูแล” วันพุธที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 09.45 – 11.30 น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 1 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ

noawarat

October 30, 2017

ร่วมฝ่าปัญหาละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ

6 ข้อเสนอทางออกฝ่าปัญหาละเมิดผู้สูงอายุ แนะทำงานเชิงรุก เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง พร้อมแก้กฎหมาย ปรับภาระ “ผู้พิทักษ์” รวมดูแลความเป็นอยู่ เพิ่มกระบวนการตรวจสอบการทำหน้าที่

noawarat

September 22, 2017

การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่ เรามาป้องกันกันเถอะ

เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก อาจต้องใช้รถเข็น หรือต้องนอนติดเตียงไปตลอดชีวิต

noawarat

August 29, 2017
1 2 3 7