แผนงานบริหารจัดการโครงการวิจัยท้าทายไทย เรื่อง Active and Productive Aging

  • Version
  • Download 114
  • File Size 3.02 MB
  • File Count 1
  • Create Date June 23, 2019
  • Last Updated June 23, 2019

แผนงานบริหารจัดการโครงการวิจัยท้าทายไทย เรื่อง Active and Productive Aging

แผนงานบริหารจัดการโครงการวิจัยท้าทายไทยกลุ่มเรื่อง Active and Productive Aging นี้ ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อทบทวนช่องว่างงานวิจัย เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการสูงอายุอย่างมีคุณค่า (2) เพื่อสนับสนุน การทบทวนองค์ความรู้ และการวิจัย ในการส่งเสริมสนับสนุนและขับเคลื่อนสังคมไทยในการมุ่งสู่ Active Aging, Productive Aging (3) บริหารจัดการและติดตามการดำเนินงานเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ (4) ผลักดันความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและการทบทวนองค์ความรู้ ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และ (5) เพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักวิจัย/นักวิชาการด้านผู้สูงอายุ  แผนงานฯ ได้กำหนดและประกาศกรอบวิจัยไว้ 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) กรอบวิจัยเพื่อเสริมสร้างสถานภาพของผู้สูงอายุในสังคม ด้วยการสร้างความกระปรี้กระเปร่า (Vitality) แก่ระบบเศรษฐกิจ  2) กรอบวิจัยเพื่อพัฒนานโยบาย กลไก และมาตรการ ในการเสริมพลังและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในการมีสถานภาพและบทบาทในครอบครัว ชุมชน และสังคมและ3) กรอบวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงอายุเพื่อมุ่งสู่ Healthy Aging and Active Aging เพื่อดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการดำรงชีวิตอย่างอิสระในชุมชนและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรมหลักได้แก่  1) กระบวนการต้นน้ำ  กำหนดกรอบวิจัย 4 กรอบตามเป้าหมายหลักของ Healthy Aging  ประกาศรับและสรรหาข้อเสนอภายใต้กรอบวิจัย ผ่าน website ของวช  ผ่าน Concept paper 12 โครงการ  อุดหนุนทุนวิจัย 11 โครงการ  ประกอบด้วยชุดเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ  ชุดสังคม จำนวน 2 โครงการ  ชุดสุขภาพ จำนวน 3 โครงการ  และทบทวนช่องว่างและพัฒนาโจทย์ระยะที่ 2 จำนวน 1 โครงการ  2) กระบวนการกลางน้ำ โดยจัดเวที Technical Forum ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดย Steering และผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็นแก่ทีมวิจัยและนำเสนอข้อค้นพบเบื้องต้นต่อผู้ใช้ประโยชน์และมีส่วนได้ส่วนเสีย 3)กระบวนการปลายน้ำ สังเคราะห์ผลการดำเนินงาน 11 โครงการย่อย  สรุปภาพรวมข้อค้นพบและข้อเสนอนโยบาย ต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำสู่การใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนนโยบายและกลไกใหม่และที่มีอยู่เดิมโดยจัดเวทีร่วมกับ สสส. ในวันที่ 8 ส.ค. 2561  โดยมีข้อค้นพบสำคัญและข้อเสนอนโยบาย 1) ด้านการเตรียมความพร้อมของแรงงานวัย 45 ปีขึ้นไป  2) ด้านการพัฒนาศักยภาพและบทบาทของผู้สูงอายุผ่านกลไกรูปแบบต่างๆ และ 3) ด้านการเตรียมความพร้อมของระบบเพื่อสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ