Skip to content
-
Version
-
Download
48
-
File Size
1.79 MB
-
File Count
1
-
Create Date
May 11, 2020
-
Last Updated
May 11, 2020
การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
- ผลศึกษาทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ พบว่า การดูแลแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิตช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตหลีกเลี่ยง การรักษาที่ “รุกราน” และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบสุขภาพจากการักษาพยาบาลที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ค่าใช้จ่ายของบุคคล ในช่วงหกเดือนสุดท้ายของชีวิตมีมูลค่าสูงมากกว่าช่วงใด ๆ ของชีวิต ขณะที่การดูแลแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิตอย่างเป็นองค์รวมที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ โดยเฉพาะการจัดการดูแลที่บ้าน หรือสถานพยาบาลกึ่งบ้าน จะเป็นการการลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมของประชาชนด้วยหรืออาจกล่าวได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตจะลดภาระทางการเงินการคลังของประเทศได้
- ประเทศไทยเริ่มต้นการสนับสนุนให้มีบริการ Palliative care มาเกือบ 2 ทศวรรษ และถูกระบุเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่แผนรองรับชัดเจน (Service plan) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 แต่ข้อมูลเท่าที่ปรากฎในปัจจุบันยังพบว่าระบบริการ Palliative care ของประเทศไทยในปัจจุบันมีช่องว่าง (gap) ที่เป็นความท้าทายสำหรับการพัฒนานโยบายที่จะเอื้ออำนวยให้เกิด บริการที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายของการ “ตายดี” และ เปิดกว้างให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพนี้ได้อย่างถ้วนหน้า (Coverage & Quality)