มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย
ศึกษาวิจัยและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งไทยและต่างประเทศ และส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินการด้านผู้สูงอายุสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่สังคมโดยรวม
รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
รายงานวิชาการ
ผลวิจัย
รายงานการวิจัย: การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ
รายงานการวิจัย การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ในปี 2563 ซึ่งเป็น “ประชากรรุ่นเกิดหนึ่งล้านคนต่อปี” หรือ กลุ่มสึนามิประชากร มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง เพราะส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ แม้จะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน ก็ยังคิดเป็นงบประมาณที่น้อยกว่าระบบบำนาญของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระยะยาว การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นไปได้ถึงระดับกึ่งกลางหรือมัธยฐานของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาทต่อเดือน หรือ 200 บาทต่อวัน โดยให้ผู้ทำงานอยู่นอกระบบสามารถทำการออม และให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สินและการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich) ซึ่งจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมลงได้ โดยคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้ […]
ข้อเสนอเชิงวิชาการ การพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ
การจัดทำข้อเสนอกลไกและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสูงอายุนี้ อยู่บนฐานของกรอบด้านยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ และได้ดำเนินการอยู่แล้ว นำโดยกระทรวงแรงงาน โดยมีรายละเอียด ตั้งแต่ในขั้นของการกำหนดนโยบายและแผน ไปจนถึงการสร้างกลไกมารองรับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย 5 ข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1: การพัฒนาแผนระดับชาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อน FutureSkills ในปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุในฐานะอีกกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศโดยจัดทำ “แผนระดับชาติด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” โดยแผนดังกล่าวจะกำหนดให้การพัฒนาทักษะการทำงานให้กับผู้สูงอายุต้องดำเนินไปควบคู่กับการส่งเสริมการจ้างงานด้วยทั้งในรูปแบบการจ้างงานต่อเนื่อง การจ้างงานใหม่ การประกอบอาชีพอิสระ (ทั้งแบบเต็มเวลาและบางเวลา) และการสร้างผู้ประกอบการสูงอายุ ข้อเสนอที่ 2: การจัดตั้งคณะทำงานแบบ Multi-agency Task Force เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้สูงอายุแบบบูรณาการและเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยในโมเดลทดลองเสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” ซึ่งอาจจะมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการตั้งคณะทำงาน หรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาทักษะของแรงงานสูงอายุโดยตรง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสูงอายุ เป็นต้น องค์ประกอบของคณะทำงานในเบื้องต้นควรประกอบด้วย กระทรวงและหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ดำเนินงานภายใต้แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ในด้านส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็ควรบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอิสระด้านการกำหนดสมรรถนะการทำงาน และสภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงควรมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วยในฐานะเป็นอีกตัวแสดงหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนายจ้างกับลูกจ้างได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะทำงาน มีดังนี้ กระทรวงแรงงาน: […]
ข่าว บทความ
กิจกรรม และเกร็ดความรู้สำหรับผู้สูงอายุ
Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผุ้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
สังคมผู้สูงวัยกับความท้าทายของภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากการปรับตัวของภาครัฐ ครอบครัว และชุมชนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการรับมือกับปัญหาสุขภาพที่พบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพียง 1 คน มักต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดอีกอย่างน้อย 1 คน ซึ่งสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ภาคสาธารณสุขไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมความรู้และการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแก่บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนทั่วไป แต่ยังมีคำถามมากมายที่หลายคนยังไม่เข้าใจ เช่น ภาวะสมองเสื่อมต่างจากโรคอัลไซเมอร์หรือไม่? ภาวะสมองเสื่อมสามารถรักษาได้หรือไม่? และเราจะป้องกันตัวเองและดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อสมองเสื่อมได้อย่างไร? วันนี้เราได้รับเกียรติพูดคุยกับ ผศ.พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน หรือ “อาจารย์อ้อย” นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหาคำตอบ พร้อมทั้งเรียนรู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันในไทย และสิ่งที่ชุมชนและสังคมต้องเตรียมรับมือในอนาคตอีกไม่ถึง 20 ปี เมื่อภาวะสมองเสื่อมอาจกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ติดตามบทสัมภาษณ์พิเศษได้ในโพสต์นี้!
bua
December 9, 2024Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
สวัสดิการผู้สูงอายุไทย: มุมมองจากนักสังคมศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการผู้สูงอายุมากว่า 30 ปี แม้ว่าสังคมผู้สูงวัยจะเริ่มถูกพูดถึงอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสวัสดิการที่เราเห็นในปัจจุบันได้รับการผลักดันจากผู้เชี่ยวชาญในวงการสังคมศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญ หนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์ศศิพัฒน์ ยอดเพชร หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อาจารย์แม่” ของนักสังคมศาสตร์ไทย ผู้ที่ทำงานด้านวิชาการและวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2530 อาจารย์ศศิพัฒน์มีบทบาทสำคัญในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และยังเป็นผู้สร้างผลงานอันทรงคุณค่า เช่น “ชุดความรู้ที่มุ่งสู่ภาวะการสูงวัยอย่างมีพลัง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ชุดความรู้นี้ถูกนำไปใช้ในโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ ช่วยเตรียมผู้สูงอายุให้เข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพและพลัง วันนี้เราได้รับเกียรติพูดคุยกับอาจารย์ถึงแนวทางที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทยท่านจะช่วยชี้แนะแนวทางการพัฒนาระบบที่ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมสูงวัย
bua
December 9, 2024Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเทศไทยในปี 2567: ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ประเด็นความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในประเทศไทยกลายเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ งานด้านผู้สูงอายุไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องสุขภาพหรือเบี้ยยังชีพอีกต่อไป แต่ขยายไปสู่มิติต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และการออกแบบพื้นที่ที่เอื้อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี หนึ่งในแนวคิดสำคัญคือ “Ageing in Place” หรือการให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในบ้านและชุมชนเดิมที่คุ้นเคย โดยเน้นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัย การผลักดันให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในถิ่นเดิมได้ยังต้องมาพร้อมกับการสร้าง ชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย (Age-Friendly Communities) ซึ่งครอบคลุมการออกแบบพื้นที่สาธารณะ บริการพื้นฐาน และกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชน ในเรื่องนี้ รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้แบ่งปันแนวทางและมุมมองเชิงวิชาการเกี่ยวกับการนำแนวคิด Ageing in Place ไปประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย เพื่อสร้างสังคมสูงวัยที่น่าอยู่และยั่งยืน ติดตามบทสัมภาษณ์พิเศษนี้ที่จะเติมเต็มมุมมองใหม่ๆ และเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการออกแบบชีวิตสูงวัยในถิ่นเดิมเพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้นของผู้สูงอายุไทย!
bua
December 9, 2024● องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย ●
✧ Elderly Server : โปรแกรมฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับท้องถิ่น
✧ Active ageing assessment tool: แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ
สำหรับการประเมินระดับความมีชีวิตชีวา (Active ageing) ของผู้สูงอายุในระดับบุคคล
ติดต่อเรา
- มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI)
1168 พหลโยธิน 22 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
- โทรศัพท์ 02 511 5855 โทรสาร 02 939 2122
- Aging@thainhf.org
- เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)