SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022 Overall, the primary sources of income of the older Thais were from their own work, and transfers or welfare from the government, especially in the form of the state old-age allowance, which has been increasing in proportion. Meanwhile, the reliance on income from children or family support has been […]

bua

October 2, 2023

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 ในปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย 66 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด อรรถบทของรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยฉบับนี้กล่าวถึงเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยที่พึ่งพาแหล่งรายได้หลักจากการทำงาน และเงินโอนหรือสวัสดิการจากภาครัฐโดยเฉพาะเบี้ยยังชีพ การพึ่งพารายได้จากบุตรหรือการเกื้อหนุนจากครอบครัว การพึ่งพารายได้จากเงินออม และทรัพย์สินของผู้สูงอายุไทย  

patthawadee

October 2, 2023

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2021

This Report on the Situation of Thai Older Persons in 2021 is the second edition with a special section on the impact of COVID-19 on Thai older persons. The pandemic remains an important theme, as it exposes the vulnerability and inequality of the older generation in societies around the world, and policymakers and the general […]

bua

November 7, 2022

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่สองที่นำเอาเรื่องการระบาดของ โควิด-19 กับผู้สูงอายุไทยมาเป็นอรรถบทสำคัญที่จะทำให้เห็นข้อมูลและข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่ ผู้สูงอายุไทยเผชิญอยู่ในภาวะของโรคระบาดระดับโลกและเป็นโรคระบาดที่ต้องยอมรับว่าฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนโยบายหรือประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งในวงการสาธารณสุขเองก็มีประสบการณ์ น้อยมากว่าจะอยู่กับการควบคุมการระบาดของโรคอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ที่พยายามควบคุมการระบาด โควิด-19 กระทบชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในสังคม ถึงขั้นมีคำกล่าวว่า กลัวอด ไม่กลัวโควิด รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 หวังจะสะท้อนข้อมูลส่วนหนึ่งจากมุมมองของผู้สูงอายุไทย เท่าที่ได้มีการรวบรวม หรือศึกษาเจาะลึก โดยฝ่ายต่างๆ    

bua

November 7, 2022

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563 ผู้สูงอายุกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐทยอยออกมาตามช่วงเวลา เช่น มาตรการปิดเมือง ปิดสถานบริการและสนามกีฬาบางประเภท กำหนดเวลาเปิดปิดร้านอาหารและห้างสรรพสินค้า ส่งเสริมให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคม ขอความร่วมมือให้บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำงานที่บ้าน มาตรการเหล่านี้ช่วยทำให้อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ตลอดปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมไม่ถึง 7 พันราย ซึ่งนับว่าไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ในจำนวนนี้ผู้ติดเชื้อเป็นผู้สูงอายุไม่ถึงร้อยละ 10 และมีผู้ป่วยสูงอายุที่เสียชีวิตด้วยโควิด-19 นับถึงสิ้นปี 2563 เพียง 29 ราย อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่อาจเกิดขึ้นอีกในปีต่อไป และหากเรามีมาตรการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยได้ โดยเฉพาะในประชากรผู้สูงอายุ  

bua

July 30, 2021

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ   การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ทั้งในแง่สิทธิประโยชน์และความครอบคลุม การจะส่งเสริมและพัฒนากลไกการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น อาจทำได้โดยการพิจารณาถึงข้อเสนอแนะสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง ทบทวนและคำนึงถึงความยั่งยืน อย่างจริงจังต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุผ่านโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือหรือส่งเสริมสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เช่น การให้เบี้ยยังชีพที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการด้านการทำงานและการมีรายได้สำหรับผู้สูงอายุ แม้ว่าจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุได้เฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันความท้าทายของภาระทางด้านงบประมาณของประเทศและวิธีการนำเงินที่ได้รับเพื่อไปสร้างประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและการดำรงชีวิตส่วนบุคคลในระยะยาว ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายให้ภาครัฐต้องขบคิดพิจารณา สอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับปรัชญาในการจัดสวัสดิการสังคมให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งสำหรับผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มวัยอื่นในสังคมไทย ด้วยการก้าวให้พ้นจากแนวคิดที่มุ่งเน้น ‘การสงเคราะห์’ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เพื่อเดินหน้าไปสู่การยอมรับแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานของ ‘สิทธิพลเมือง’ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด หรือมีเศรษฐานะใด ต่างควรมีสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน ทั้งจากภาครัฐและทุกภาคส่วนในสังคมอย่าง “ทั่วถึง” และ “ถ้วนหน้า” สาม กระจายความรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการสังคมผ่านการสร้าง “หุ้นส่วน” ด้วยการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในสังคม ทั้งจากครอบครัว อาสาสมัคร ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม […]

bua

December 9, 2020

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุยังคงอยู่ในกำลังแรงงานนานที่สุด เสริมทักษะหรือเพิ่มทักษะใหม่ให้กับแรงงานสูงอายุ ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับแรงงานสูงอายุด้วยการออกแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับความต้องการและเงื่อนไขตามวัยของแรงงาน สร้างแรงจูงใจ และขยายสิทธิประโยชน์ให้กับนายจ้างที่จ้างงานผู้สูงอายุ ขยายอายุในการเริ่มรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ยาวนานกว่าที่อายุ 55 ปีขึ้นไป ในกรณีแรงงานภาคเอกชนที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม หามาตราการส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อมีหลักประกันรายได้ยามชราภาพ เพิ่มบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกิจกรรม CSR ของภาคเอกชนในการส่งเสริมสร้างงานแก่แรงงานสูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ปรับแก้ระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมทั้งการขยายอายุเกษียณของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ สร้างมโนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับนิยามผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมเห็นว่าผู้สูงอายุยังมีพลังและมีศักยภาพเป็นผู้ผลิตในตลาดแรงงานได้  

noawarat

November 7, 2019

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2560

การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงต้นสหัสวรรษนี้ ขณะนี้โลกของเราได้กลายเป็นสังคมสูงอายุไปแล้ว สำหรับประเทศไทย ประชากรกำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างเร็วมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดในเวลาไม่เกิน 15 ปีข้างหน้านี้ รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560 นี้ นำเสนอในอรรถบท การสูงวัยอย่างมีพลัง ซึ่งหมายถึง การที่ประชากรเจริญวัยขึ้นอย่างมีพลัง คือมีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางรายได้ และการอยู่อาศัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม

noawarat

December 7, 2018
1 2 3 4