[ประกาศ] สรรหาเลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ด้วย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กำลังสรรหาเลขาธิการมูลนิธิฯ ท่านใหม่ แทนท่านเดิมที่กำลังจะหมดวาระ มสช. จึงขอประชาสัมพันธ์ประกาศการรับสมัคร รายละเอียดดังไฟล์ที่แนบมาพร้อมนี้
ด้วย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กำลังสรรหาเลขาธิการมูลนิธิฯ ท่านใหม่ แทนท่านเดิมที่กำลังจะหมดวาระ มสช. จึงขอประชาสัมพันธ์ประกาศการรับสมัคร รายละเอียดดังไฟล์ที่แนบมาพร้อมนี้
หนังสือ การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค Stroke โดย นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช “วิธีแก้ไขหรือรักษา stroke ที่สำคัญที่สุดคือ กายภาพบำบัด (physical therapy) ควบคู่กับการใช้ชีวิตและวางจิตใจให้เหมาะสม” ส่วนหนึงจากหนังสือที่นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิชเขียนเล่าจากประสบการณ์และองค์ความรู้ของการรักษาและฟื้นฟูสภาพจากโรค stroke ทั้งทางกายและทางจิตใจ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารเล่มหนังสือด้านล่าง
หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจในการพัฒนาที่พักอาศัยแบบ senior complex ซึ่งอาจยังไม่ตอบโจทย์กับผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดและขาดระบบริการสนับสนุนที่สำคัญ แนวคิด “สูงวัยในถิ่นเดิม” (aging in place) จะช่วยเติมเต็มความต้องการและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเองได้อย่างอิสระและมีความปลอดภัย
หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มุมมองอันเป็นอคติต่อผู้สูงอายุว่าเป็นผู้รอรับการช่วยเหลือและไม่ช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุ “สังคมสูงวัย” ของประเทศไทยนั้น หากภาครัฐและเอกชนสามารถเปิดกว้างและส่งเสริมศักยภาพด้านการทำงานและสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ ไม่เพียงช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น แต่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษกิจของประเทศและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง แก่แบบสบาย สูงวัยแบบสง่า มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถรับมือกับ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) และการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วได้มีประสิทธิภาพและทั่วถึงได้อย่างไร ดังที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2021 – 2030 เป็น “ทศวรรษแห่งการสูงวัยที่มีสุขภาพดี” สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้อยู่สบายและสง่างาม
นับถอยหลังเหลืออีกเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้นที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ในปี 2565 เพราะไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20นอกจากความสำคัญในเรื่องของสุขภาพกายแล้ว สุขภาพช่องปากถือเป็นอีกมิติหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ด้วยเพราะสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันด้วย
20 ซี่คือจำนวนฟัน ที่จะทำให้ผู้สูงวัยมีอายุที่ยืนยาว และมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีในการใช้ชีวิตในบั้นปลายด้วยเพราะสุขภาพในช่องปากมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ซึ่งการมีจำนวนฟันที่น้อยลง ส่งผลต่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร เกิดภาวะทุพโภชนาการ และนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง การติดเชื้อในช่องปากที่นำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิต รวมไปถึงปอดอักเสบจากการสำลัก
นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่เดือนจะเข้าสู่ศักราชใหม่ ปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ความท้าทายอย่างหนึ่ง คือ การรับมือสถานการณ์อย่างไรให้เพื่อผู้สูงอายุไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้ทรัพยากรและการให้บริการทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะสถานดูแลระยะยาว และบ้านพักคนชรา
ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุเติบโตขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นไปตามความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนของผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การควบคุมมาตรฐานการให้บริการและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญ