Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผุ้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม

สังคมผู้สูงวัยกับความท้าทายของภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากการปรับตัวของภาครัฐ ครอบครัว และชุมชนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการรับมือกับปัญหาสุขภาพที่พบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพียง 1 คน มักต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดอีกอย่างน้อย 1 คน ซึ่งสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ภาคสาธารณสุขไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมความรู้และการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแก่บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนทั่วไป แต่ยังมีคำถามมากมายที่หลายคนยังไม่เข้าใจ เช่น ภาวะสมองเสื่อมต่างจากโรคอัลไซเมอร์หรือไม่? ภาวะสมองเสื่อมสามารถรักษาได้หรือไม่? และเราจะป้องกันตัวเองและดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อสมองเสื่อมได้อย่างไร? วันนี้เราได้รับเกียรติพูดคุยกับ ผศ.พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน หรือ “อาจารย์อ้อย” นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหาคำตอบ พร้อมทั้งเรียนรู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันในไทย และสิ่งที่ชุมชนและสังคมต้องเตรียมรับมือในอนาคตอีกไม่ถึง 20 ปี เมื่อภาวะสมองเสื่อมอาจกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ติดตามบทสัมภาษณ์พิเศษได้ในโพสต์นี้!

bua

December 9, 2024

Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

สวัสดิการผู้สูงอายุไทย: มุมมองจากนักสังคมศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการผู้สูงอายุมากว่า 30 ปี แม้ว่าสังคมผู้สูงวัยจะเริ่มถูกพูดถึงอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสวัสดิการที่เราเห็นในปัจจุบันได้รับการผลักดันจากผู้เชี่ยวชาญในวงการสังคมศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญ หนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์ศศิพัฒน์ ยอดเพชร หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อาจารย์แม่” ของนักสังคมศาสตร์ไทย ผู้ที่ทำงานด้านวิชาการและวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2530 อาจารย์ศศิพัฒน์มีบทบาทสำคัญในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และยังเป็นผู้สร้างผลงานอันทรงคุณค่า เช่น “ชุดความรู้ที่มุ่งสู่ภาวะการสูงวัยอย่างมีพลัง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ชุดความรู้นี้ถูกนำไปใช้ในโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ ช่วยเตรียมผู้สูงอายุให้เข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพและพลัง วันนี้เราได้รับเกียรติพูดคุยกับอาจารย์ถึงแนวทางที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทยท่านจะช่วยชี้แนะแนวทางการพัฒนาระบบที่ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมสูงวัย

bua

December 9, 2024

Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเทศไทยในปี 2567: ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ประเด็นความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในประเทศไทยกลายเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ งานด้านผู้สูงอายุไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องสุขภาพหรือเบี้ยยังชีพอีกต่อไป แต่ขยายไปสู่มิติต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และการออกแบบพื้นที่ที่เอื้อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี หนึ่งในแนวคิดสำคัญคือ “Ageing in Place” หรือการให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในบ้านและชุมชนเดิมที่คุ้นเคย โดยเน้นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัย การผลักดันให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในถิ่นเดิมได้ยังต้องมาพร้อมกับการสร้าง ชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย (Age-Friendly Communities) ซึ่งครอบคลุมการออกแบบพื้นที่สาธารณะ บริการพื้นฐาน และกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชน ในเรื่องนี้ รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้แบ่งปันแนวทางและมุมมองเชิงวิชาการเกี่ยวกับการนำแนวคิด Ageing in Place ไปประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย เพื่อสร้างสังคมสูงวัยที่น่าอยู่และยั่งยืน ติดตามบทสัมภาษณ์พิเศษนี้ที่จะเติมเต็มมุมมองใหม่ๆ และเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการออกแบบชีวิตสูงวัยในถิ่นเดิมเพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้นของผู้สูงอายุไทย!

bua

December 9, 2024

Aging Interview : มส.ผส. ชวนคุย กับ คุณชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย

  การพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย: ก้าวสำคัญจากอดีตสู่ปัจจุบัน ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่ทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน หนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการวางรากฐานระบบสาธารณสุขไทยคือ คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ริเริ่มโครงการที่เป็นรากฐานของระบบสวัสดิการสุขภาพในปัจจุบัน ในช่วงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2531-2532) คุณชวนเริ่มกำหนดนโยบายรักษาฟรีสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จากนั้นในปี 2536 ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ได้เปิดตัวโครงการ “ประกันสุขภาพโดยสมัครใจ” หรือ “บัตรครอบครัว” โดยประชาชนจ่าย 500 บาท และรัฐบาลสมทบอีก 500 บาท สามารถรักษาได้ทุกโรคสำหรับทั้งครอบครัว ต่อมาในสมัยที่ 2 ได้พัฒนาโครงการนี้ต่อเนื่อง โดยเพิ่มการสมทบจากรัฐบาลเป็น 1,000 บาทต่อปี ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการจัดระบบสวัสดิการสุขภาพสำหรับคนไทย ความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ของคุณชวน หลีกภัย เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างรากฐานระบบสาธารณสุขในประเทศไทย ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่เราได้เห็นในปัจจุบัน นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความใส่ใจต่อสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง.

bua

December 9, 2024

การสนับสนุนการสูงวัยในที่เดิมของประเทศไทย : ความท้าทายและทางออก

ในขณะที่การสูงวัยของประชากรไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการลดลงของการเกิดและการตายของคนไทย หนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตอย่าง “ที่อยู่อาศัย” ยังคงเป็นประเด็นที่สำคัญที่ท้าทายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในแง่ของความเพียงพอ คุณภาพ และความเหมาะสม

bua

March 22, 2021

การจัดการทรัพย์สินของผู้สูงอายุไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการทรัพย์สินสำหรับผู้สูงอายุไทย เป็นประโยชน์ต่อการจัดการทรัพย์สินของผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้สูงอายุมีการออมที่เพียงพอเพื่อดำรงชีพในวัยสูงอายุ และมีผลต่อภาวะทางด้านจิตใจ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อสุขภาพและสุขภาวะโดยรวมของผู้สูงอายุ

bua

March 22, 2021

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต โดย ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา ระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันมีหลายระบบย่อยที่มีกฎหมาย หน่วยงานรับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับดูแล กฎกติกา และแหล่งที่มาของเงินแตกต่างกัน ระบบมีการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้าในส่วนของบำนาญระดับพื้นฐานและบำนาญส่วนเพิ่มอื่น แต่ความครอบคลุมยังจำกัด ความพอเพียงมีเฉพาะประชาชนในบางกลุ่ม ภาระค่าใช้จ่ายด้านบำนาญมีสัดส่วนต่อรายจ่ายจริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ ในอนาคตรัฐบาลควรที่จะวางยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ มองผู้รับประโยชน์เป็นศูนย์กลาง และมีคณะกรรมการพิจารณาภาพรวมของระบบ

bua

March 22, 2021

เปิดงานวิจัย การศึกษาการปรับตัวของลูกจ้างในระบบภาคเอกชนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปที่ เปลี่ยนสถานการณ์ทำงานไปสู่การทำงานในภาคนอกระบบ

เวทีเสวนา “โควิด-19 : ผลกระทบต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ” เปิดงานวิจัย การศึกษาการปรับตัวของลูกจ้างในระบบภาคเอกชนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปที่ เปลี่ยนสถานการณ์ทำงานไปสู่การทำงานในภาคนอกระบบ พบ 4 ผลกระทบของการปรับตัวของลูกจ้างในการเปลี่ยนงาน พร้อมชูข้อเสนอ 3 ส่วน ฝึกอบรมทักษะใหม่ให้กับพนักงาน ส่งเสริมการออม และให้ทำประกันสังคมต่อ (มาตรา 39) 

noawarat

August 31, 2020

เปิดผลการศึกษารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย: ความยืดหยุ่น ผลิตภาพ และการคุ้มครอง

เปิดผลการศึกษารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย พบการจ้างงานผู้สูงอายุ 2 รูปแบบคือจ้างต่อเนื่องหลังเกษียณ 55 ปี และจ้างงานแบบจ้างใหม่ 60 ปีขึ้นไป พร้อมเสนอ 4 ข้อแนะนำในการจ้างงานผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ

noawarat

August 30, 2020
1 2 3 5