Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2 สังคมสูงวัยในบทบาทของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมความพร้อม พัฒนาและยกระดับทักษะการทำงานของผู้สูงอายุ เป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตในวัยเกษียณได้เพียงพอ และสามารถทำงานตามความต้องการและเหมาะสมสมรรถภาพร่างกาย ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม วารสารฉบับนี้จึงนำเสนอข้อมูลสถานการณ์และแนวทางการรองรับสังคมสูงวัยในด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มรายได้ รวมถึงใช้นวัตกรรมและการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต

bua

August 16, 2024

รายงานการวิจัย: การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ

รายงานการวิจัย การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ในปี 2563 ซึ่งเป็น “ประชากรรุ่นเกิดหนึ่งล้านคนต่อปี” หรือ กลุ่มสึนามิประชากร มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง เพราะส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ แม้จะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน ก็ยังคิดเป็นงบประมาณที่น้อยกว่าระบบบำนาญของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระยะยาว การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นไปได้ถึงระดับกึ่งกลางหรือมัธยฐานของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาทต่อเดือน หรือ 200 บาทต่อวัน โดยให้ผู้ทำงานอยู่นอกระบบสามารถทำการออม และให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สินและการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich) ซึ่งจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมลงได้ โดยคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้ […]

bua

June 26, 2024

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล”

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล” แรงบันดาลใจแห่งจากสร้างสรรค์สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบบนโลกดิจิทัล   หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือในชุดหนังสือ 2 เล่มที่ประมวลองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” (Development of Elderly’s Technology Intelligence to Strengthen their Security in Income, Health and Living upon New Normal Aging Society) โครงการวิจัยนี้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2567    

bua

May 23, 2024

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 1

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย นำเสนอและสะท้อนภาพสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเตรียมการที่เหมาะสมในการรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์และระดับสุดยอดในอนาคต ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและสถาบันวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยต่อไป        

bua

May 7, 2024

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022 Overall, the primary sources of income of the older Thais were from their own work, and transfers or welfare from the government, especially in the form of the state old-age allowance, which has been increasing in proportion. Meanwhile, the reliance on income from children or family support has been […]

bua

October 2, 2023

หนังสือ: การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค stroke

หนังสือ การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค Stroke โดย นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช “วิธีแก้ไขหรือรักษา stroke ที่สำคัญที่สุดคือ กายภาพบำบัด (physical therapy) ควบคู่กับการใช้ชีวิตและวางจิตใจให้เหมาะสม” ส่วนหนึงจากหนังสือที่นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิชเขียนเล่าจากประสบการณ์และองค์ความรู้ของการรักษาและฟื้นฟูสภาพจากโรค stroke ทั้งทางกายและทางจิตใจ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารเล่มหนังสือด้านล่าง

bua

March 21, 2023

ข้อเสนอเชิงวิชาการ การพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ

การจัดทำข้อเสนอกลไกและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสูงอายุนี้ อยู่บนฐานของกรอบด้านยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ และได้ดำเนินการอยู่แล้ว นำโดยกระทรวงแรงงาน โดยมีรายละเอียด ตั้งแต่ในขั้นของการกำหนดนโยบายและแผน ไปจนถึงการสร้างกลไกมารองรับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย 5 ข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1: การพัฒนาแผนระดับชาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อน FutureSkills ในปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุในฐานะอีกกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศโดยจัดทำ “แผนระดับชาติด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” โดยแผนดังกล่าวจะกำหนดให้การพัฒนาทักษะการทำงานให้กับผู้สูงอายุต้องดำเนินไปควบคู่กับการส่งเสริมการจ้างงานด้วยทั้งในรูปแบบการจ้างงานต่อเนื่อง การจ้างงานใหม่ การประกอบอาชีพอิสระ (ทั้งแบบเต็มเวลาและบางเวลา) และการสร้างผู้ประกอบการสูงอายุ ข้อเสนอที่ 2: การจัดตั้งคณะทำงานแบบ Multi-agency Task Force เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้สูงอายุแบบบูรณาการและเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยในโมเดลทดลองเสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” ซึ่งอาจจะมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการตั้งคณะทำงาน หรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาทักษะของแรงงานสูงอายุโดยตรง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสูงอายุ เป็นต้น องค์ประกอบของคณะทำงานในเบื้องต้นควรประกอบด้วย กระทรวงและหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ดำเนินงานภายใต้แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ในด้านส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็ควรบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอิสระด้านการกำหนดสมรรถนะการทำงาน และสภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงควรมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วยในฐานะเป็นอีกตัวแสดงหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนายจ้างกับลูกจ้างได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะทำงาน มีดังนี้ กระทรวงแรงงาน: […]

bua

November 7, 2022
1 2 3 6