Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2 สังคมสูงวัยในบทบาทของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมความพร้อม พัฒนาและยกระดับทักษะการทำงานของผู้สูงอายุ เป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตในวัยเกษียณได้เพียงพอ และสามารถทำงานตามความต้องการและเหมาะสมสมรรถภาพร่างกาย ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม วารสารฉบับนี้จึงนำเสนอข้อมูลสถานการณ์และแนวทางการรองรับสังคมสูงวัยในด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มรายได้ รวมถึงใช้นวัตกรรมและการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต

bua

August 16, 2024

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล”

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล” แรงบันดาลใจแห่งจากสร้างสรรค์สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบบนโลกดิจิทัล   หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือในชุดหนังสือ 2 เล่มที่ประมวลองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” (Development of Elderly’s Technology Intelligence to Strengthen their Security in Income, Health and Living upon New Normal Aging Society) โครงการวิจัยนี้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2567    

bua

May 23, 2024

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 1

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย นำเสนอและสะท้อนภาพสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเตรียมการที่เหมาะสมในการรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์และระดับสุดยอดในอนาคต ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและสถาบันวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยต่อไป        

bua

May 7, 2024

หนังสือ: การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค stroke

หนังสือ การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค Stroke โดย นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช “วิธีแก้ไขหรือรักษา stroke ที่สำคัญที่สุดคือ กายภาพบำบัด (physical therapy) ควบคู่กับการใช้ชีวิตและวางจิตใจให้เหมาะสม” ส่วนหนึงจากหนังสือที่นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิชเขียนเล่าจากประสบการณ์และองค์ความรู้ของการรักษาและฟื้นฟูสภาพจากโรค stroke ทั้งทางกายและทางจิตใจ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารเล่มหนังสือด้านล่าง

bua

March 21, 2023

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   การเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจในการพัฒนาที่พักอาศัยแบบ senior complex ซึ่งอาจยังไม่ตอบโจทย์กับผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดและขาดระบบริการสนับสนุนที่สำคัญ แนวคิด “สูงวัยในถิ่นเดิม” (aging in place) จะช่วยเติมเต็มความต้องการและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเองได้อย่างอิสระและมีความปลอดภัย    

bua

September 12, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   มุมมองอันเป็นอคติต่อผู้สูงอายุว่าเป็นผู้รอรับการช่วยเหลือและไม่ช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุ “สังคมสูงวัย” ของประเทศไทยนั้น หากภาครัฐและเอกชนสามารถเปิดกว้างและส่งเสริมศักยภาพด้านการทำงานและสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ ไม่เพียงช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น แต่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษกิจของประเทศและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน    

bua

September 12, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง แก่แบบสบาย สูงวัยแบบสง่า

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง แก่แบบสบาย สูงวัยแบบสง่า มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   ระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถรับมือกับ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) และการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วได้มีประสิทธิภาพและทั่วถึงได้อย่างไร ดังที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2021 – 2030 เป็น “ทศวรรษแห่งการสูงวัยที่มีสุขภาพดี” สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้อยู่สบายและสง่างาม    

bua

September 12, 2022

26 องค์กรประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนนโยบาย 80 ปีฟันดี 20 ซี่ เติมเต็มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงวัย

นับถอยหลังเหลืออีกเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้นที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ในปี 2565 เพราะไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20นอกจากความสำคัญในเรื่องของสุขภาพกายแล้ว สุขภาพช่องปากถือเป็นอีกมิติหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ด้วยเพราะสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันด้วย

noawarat

December 29, 2021

ความท้าทายใหม่ เป้าหมายคนไทย 80ปี มีฟันไม่น้อยกว่า 20 ซี่ เตือน มีฟันน้อยเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังหลายโรค

20 ซี่คือจำนวนฟัน ที่จะทำให้ผู้สูงวัยมีอายุที่ยืนยาว และมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีในการใช้ชีวิตในบั้นปลายด้วยเพราะสุขภาพในช่องปากมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ซึ่งการมีจำนวนฟันที่น้อยลง ส่งผลต่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร เกิดภาวะทุพโภชนาการ และนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง  การติดเชื้อในช่องปากที่นำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิต รวมไปถึงปอดอักเสบจากการสำลัก

noawarat

December 28, 2021
1 2 3 16