SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022

SITUATION OF THE THAI ELDERY 2022 Overall, the primary sources of income of the older Thais were from their own work, and transfers or welfare from the government, especially in the form of the state old-age allowance, which has been increasing in proportion. Meanwhile, the reliance on income from children or family support has been […]

bua

October 2, 2023

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 ในปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย 66 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด อรรถบทของรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยฉบับนี้กล่าวถึงเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยที่พึ่งพาแหล่งรายได้หลักจากการทำงาน และเงินโอนหรือสวัสดิการจากภาครัฐโดยเฉพาะเบี้ยยังชีพ การพึ่งพารายได้จากบุตรหรือการเกื้อหนุนจากครอบครัว การพึ่งพารายได้จากเงินออม และทรัพย์สินของผู้สูงอายุไทย  

patthawadee

October 2, 2023

หนังสือ: การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค stroke

หนังสือ การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค Stroke โดย นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช “วิธีแก้ไขหรือรักษา stroke ที่สำคัญที่สุดคือ กายภาพบำบัด (physical therapy) ควบคู่กับการใช้ชีวิตและวางจิตใจให้เหมาะสม” ส่วนหนึงจากหนังสือที่นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิชเขียนเล่าจากประสบการณ์และองค์ความรู้ของการรักษาและฟื้นฟูสภาพจากโรค stroke ทั้งทางกายและทางจิตใจ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารเล่มหนังสือด้านล่าง

bua

March 21, 2023

ข้อเสนอเชิงวิชาการ การพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ

การจัดทำข้อเสนอกลไกและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสูงอายุนี้ อยู่บนฐานของกรอบด้านยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ และได้ดำเนินการอยู่แล้ว นำโดยกระทรวงแรงงาน โดยมีรายละเอียด ตั้งแต่ในขั้นของการกำหนดนโยบายและแผน ไปจนถึงการสร้างกลไกมารองรับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย 5 ข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1: การพัฒนาแผนระดับชาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อน FutureSkills ในปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุในฐานะอีกกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศโดยจัดทำ “แผนระดับชาติด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” โดยแผนดังกล่าวจะกำหนดให้การพัฒนาทักษะการทำงานให้กับผู้สูงอายุต้องดำเนินไปควบคู่กับการส่งเสริมการจ้างงานด้วยทั้งในรูปแบบการจ้างงานต่อเนื่อง การจ้างงานใหม่ การประกอบอาชีพอิสระ (ทั้งแบบเต็มเวลาและบางเวลา) และการสร้างผู้ประกอบการสูงอายุ ข้อเสนอที่ 2: การจัดตั้งคณะทำงานแบบ Multi-agency Task Force เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้สูงอายุแบบบูรณาการและเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยในโมเดลทดลองเสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” ซึ่งอาจจะมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการตั้งคณะทำงาน หรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาทักษะของแรงงานสูงอายุโดยตรง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสูงอายุ เป็นต้น องค์ประกอบของคณะทำงานในเบื้องต้นควรประกอบด้วย กระทรวงและหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ดำเนินงานภายใต้แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ในด้านส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็ควรบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอิสระด้านการกำหนดสมรรถนะการทำงาน และสภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงควรมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วยในฐานะเป็นอีกตัวแสดงหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนายจ้างกับลูกจ้างได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะทำงาน มีดังนี้ กระทรวงแรงงาน: […]

bua

November 7, 2022

การเรียนรู้นโยบายการสูงวัยในที่เดิมจากแนวปฏิบัติที่เหมาะสม: การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์สู่การขับเคลื่อนนโยบาย ด้านการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

“การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” (Ageing in Place) เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายเมื่อบุคคลรู้สึกถึงความมั่นคง (security) และความคุ้นเคย (familiarity) ต่อที่อยู่อาศัยและชุมชนของตัวเอง (Wiles et al., 2012) จนกระทั่งนำไปสู่การตัดสินใจที่จะอยู่อาศัยในบ้านเดิม สภาพแวดล้อมเดิม หรือชุมชนเดิมของตัวเองให้นานที่สุด เท่าที่ความสามารถและวัยจะเกื้อหนุนให้ทำได้ นอกจากนี้ “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” ยังหมายความรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงและได้รับบริการและการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อสภาพร่างกายและรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป (Colello, 2007) ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถดำรงอัตลักษณ์ (identity) คงความรู้สึกไม่พึ่งพาและเป็นอิสระ (independence and autonomy) รวมถึงรักษาคุณภาพชีวิต (quality of life) ของผู้สูงอายุ แม้ว่าการสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมเป็นแนวคิดที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและมีความพยายามที่จะนำไปสู่ปฏิบัติในบางหน่วยงานของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมยังคงไม่ใช่แนวทางหลักที่ภาครัฐโดยรวมให้ความสนใจและมุ่งที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ดังนั้น แนวคิด “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” ยังคงต้องการการให้ความสำคัญและการผลักดันจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่งบประมาณและการลงทุน เพื่อสนับสนุนให้แนวคิดดังกล่าวกลายเป็น “แนวทางหลัก” (mainstream approach) ทั้งในแง่ภารกิจและเป้าหมายต่อการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เพิ่งอ้าง) ดังนั้น การเรียนรู้เชิงนโยบาย (policy learning) เพื่อแปลงแนวคิดและถอดประสบการณ์จากแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในต่างประเทศ […]

bua

November 7, 2022

โรงเรียนผู้สูงอายุ : ชุดความรู้ที่มุ่งสู่ภาวะการสูงวัยอย่างมีพลัง

“ชุดความรู้มุ่งสู่ภาวะการสูงวัยอย่างมีพลัง” ได้จัดขึ้นภายใต้ฐานคิดว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน การเรียนรู้เป็นความพยายามของมนุษยชาติ” ประกอบด้วย 3 ชุดการเรียนรู้ ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ที่ผู้สูงอายุต้องรู้ 12 วิชา มีชั่วโมงการสอน 16 ชั่วโมง ชุดการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้ที่ผู้สูงอายุควรรู้ 24 วิชา มีชั่วโมงการสอน 12 ชั่วโมง (เลือกวิชาเรียน) ชุดการเรียนรู้ที่ 3 ความรู้ที่ผู้สูงอายุอยากรู้ รายวิชาสามารถกำหนดตามความต้องการของผู้เรียนและผู้จัด แต่กำหนดชั่วโมงการสอน 12 ชั่วโมง โดยมุ่งหวังว่าชุดความรู้นี้จะสามารถสร้างประสบการณ์จากการเรียนเพื่อให้เกิดการเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม การเกิดแรงบันดาลใจอยากเรียนรู้ต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ความต้องการและความพร้อมของบุคคล เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีพลังต่อไป  

bua

November 7, 2022

โครงการย่อยที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และการพัฒนาระบบบริการดูแลประคับประคอง ที่มีคุณภาพในโรงพยาบาล

ผลการศึกษา การประเมินคุณภาพของศูนย์ดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล พบว่า มาตรฐานโครงสร้างด้านอัตรากำลังเป็นตัวชี้วัดที่แทบทุกโรงพยาบาลไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพที่มีคะแนนสูงที่สุดคือ การเข้าถึงยา opioids รองลงมาคือเชื่อมประสานบริการและส่งต่อและการสนับสนุนผู้ดูแล สำหรับมาตรฐาน ที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือการดูแลภาวะสูญเสีย รองลงมาคือการลดอุปสรรคการเข้าถึงบริการ นอกจากนี้ตัวชี้วัดด้านการดูแลในภาวะฉุกเฉินและการเข้าถึงแผนดูแลล่วงหน้าของผู้ป่วยยังเป็นจุดที่ต้องการการพัฒนา การประเมินเจตนคติความมั่นใจในการทำงานในทักษะต่างๆ พบว่า ระยะเวลาทำงานมากกว่า 5 ปี และการได้รับการฝึกอบรมระยะยาวหรือกลางมีความสำคัญกับความก้าวหน้าทางวิชาชีพและความมั่นใจในการทำงานสูงเพราะเป็นทักษะเฉพาะที่ต้องได้รับการฝึกฝน หัวข้อที่บุคลากรมีความมั่นใจมากที่สุด คือความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลประคับประคอง สามารถอธิบายหลักการการดูแลประคับประคองและคัดกรองผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์จากการดูแลและสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เพิ่ม คือ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะที่เป็นเด็กและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ทักษะการดูแลแผลแบบเฉพาะ และการจัดการในภาวะวิกฤตและการบริหารยาและให้บริการ 24 ชั่วโมง การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การเป็นขั้วตรงข้ามทางความคิดกับการดูแลกระแสหลักซึ่งคือการรักษาตัวโรค (curative treatment) ส่งผลต่อการทำงานร่วมกันระหว่างทีมเจ้าของไข้และทีมดูแลแบบประคับประคอง เพราะการดูแลแบบประคับประคองเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้ผู้ป่วยและญาติได้มีตัวตนในการจัดการความเจ็บป่วยของตนเองแตกต่างจากการเข้าไปจัดการความเจ็บป่วยของผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์ สิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนงานคือ การทำงานเชิงเครือข่ายที่ทำให้การดำเนินงานไร้รอยต่อ เชื่อมโยงคนทำงาน พึ่งพาทรัพยากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้สภาวะความขาดแคลนโดยโรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ในการทำงานทั้ง hard skills และ soft skills อีกทั้งการประเมินคุณภาพการบริการยังเป็นสิ่งที่คนทำงานให้ความสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่าคนทำงานด้านดูแลแบบประคับประคองไม่ได้หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้และพัฒนา  แม้คนทำงานด้านการดูแลประคับประคองจะมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเพียงใด แต่การไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพและการทำงาน การถูกละเลยจากองค์กรก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจของคนทำงานอย่างสูง เป็นความเสี่ยงในการสูญเสียบุคลากรขององค์กร ข้อเสนอแนะ  การจัดโครงสร้างศูนย์การดูแลประคับประคอง จะส่งผลให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรคน เงิน […]

bua

November 7, 2022
1 2 3 42