เราจะไปทางไหน เมื่อผู้สูงวัยล้นเมือง?

oldman-01

ห้วงฤดูหนาวเริ่มต้นพร้อมกับการที่ผู้สูงวัย 60 ปี หลายแวดวงวิชาชีพเริ่มทยอยเกษียณในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และกำลังจะเป็นสังคมสูงอายุที่สมบูรณ์แบบในอีกทศวรรษข้างหน้า ในขณะที่ประชากรในวัยแรงงานซึ่งเป็นฐานสำคัญของการผลิตและการเกื้อหนุนแก่ผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนอาจเป็นปัญหาได้ในอนาคตโดยคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society)ในปี 2567 หรืออีกประมาณ 13 ปีข้างหน้า และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ปี พ.ศ.2573 ที่ประชากรผู้สูงอายุจะมีถึง 17 ล้านคนจากประชากรรวม 70.6 ล้านคน

สังคมไทยจะก้าวไปทางไหนและจะมีทิศทางไปอย่างไรในอนาคตกำลังเกิดวิกฤติประชากรเช่นนี้?ในประเทศที่พัฒนาแล้วจึงมีหลากหลายเพื่อรองรับปัญหาและความท้าทาย ที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยส่วนใหญ่มักจะพุ่งเป้าไปที่ “การจัดหางาน “การขยายระยะเวลา” ในการทำงานของแรงงานสูงอายุโดยเฉพาะการสนับสนุนให้แรงงาน สูงอายุสามารถทำงานในระบบได้ยาวนานขึ้นโดยการกำหนดมาตรการหรือปรับปรุงกฎหมายให้มี “การขยายอายุเกษียณ”แนวคิดในการขยายอายุเกษียณหรือการขยายอายุการทำงานเป็นนโยบายที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้จากการทบทวนบทเรียนและประสบการณ์จากต่างประเทศใน 5 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งได้กลายเป็นสังคมสูงอายุไปแล้ว (Completed-aged society)

แต่ที่ผ่านมาบทเรียนและประสบการณ์ของต่างประเทศที่พยายามกำหนดมาตรการเพื่อรองรับปัญหาจากการเป็นสังคมสูงอายุนั้นเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนโดยเฉพาะประเด็นการขยายอายุเกษียณเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องในสังคมมีความเข้าใจมีมุมมองและมีทัศนคติค่านิยมหรือ