เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้สูงอายุบางคนมีสุขภาพที่พอดี ไม่อยู่ในสถานะพึ่งพา และยังมีความสามารถในเชิงเศรษฐกิจของครอบครัว ผู้สูงอายุจะอยู่ในบทบาทของผู้ให้ และผู้เกื้อกูลแก่สมาชิกในครอบครัว ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีความสามารถในเชิงเศรษฐกิจถดถอยแต่ยังมีสุขภาพดีและไม่ต้องพึ่งพาส่วนใหญ่ผู้สูงอายุยังคงต้องดำรงบทบาทผู้ให้และผู้รับที่สมดุลกันมากขึ้น โดยยังให้การเกื้อกูลทางสังคมและกายภาพแก่สมาชิกคนอื่นๆ เช่น การดูแลบ้าน การดูแลหลาน เป็นต้น แต่การเปลี่ยนถ่ายอำนาจและความรับผิดชอบไปยังสมาชิกรุ่นต่อไปเริ่มขี้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวมีบทบาทเกื้อกูลผู้สูงอายุมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม จนเมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพและเป็นเหตุใหใ้อยู่ในระยะพึ่งพาต้องการการดูแลเกื้อกูล บทบาทของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนชัดเจนจาก “ผู้ให็” เป็น “ผู้รับ” ระยะการเปลี่ยนแปลงนี้อาจสร้างผลกระทบทางจิตใจแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว หรืออาจเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นได้ อันเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงบาทบาทของผู้สูงอายุจากที่เคยสามารถเป็นผู้เกื้อกูลช่วยเหลือมาเป็นผู้พึ่งพา ซึ่่งไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อบทบาทและวิถีชีวิตของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักซึ่งปัญหาเหล่านี้นับจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ระบบการดูแลระยะยาวและกำลังคนในการดูแลผู้สูงอายุ : ทิศทางในประเทศไทย
1 file(s) 1.67 MB