ในอดีตประเทศที่เริ่มพัฒนาระบบสวัสดิการมองว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุจะมีความเสื่อมถอยทั้งทางรางกายและทางจิตใจ ควรจะได้พักผ่อน รับสวัสดิการจากรัฐ ฉะนั้นนิยามผู้สูงอายุจึงผูกติดกับอายุเกษียณตลอดเวลา ซึ่งเป็นแนวคิดในระยะต้น ในตอนนี้เราจึงขอเน้นคำสองคำคือ “ผู้สูงอายุ” กับ “ผู้เกษียณอายุ” จำเป็นต้องเป็นตัวเดียวกันหรือไม่
ทำไมผู้เชียวชาญจึงเสนอให้เปลี่ยนคำนิยามผู้สูงอายุของคนไทยจาก 60 เป็น 65 ปี ในแง่บวก เพราะคน 60 -64 ปียังคงทำงานอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในชนบท ซึ่งยังถงทำไปได้เรื่อยๆ จะกว่าสุขภาพจะไม่อำนวย ในเมืองถึงจะมีเรื่องการเกษียณเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ก็ยังมีคนที่สามารถทำงานอยู่ได้อีกเป็นจำนวนมาก และการที่คนมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น สุขภาพแข็งแรงยาวนานขึ้น จึงสามารถใช้ชีวิตที่เหลือทำประโยชน์ มีคุณค่าต่อไป การได้ทำงานจะทำให้รู้สึกมีสุขภาพจิตดีขึ้น ทำให้สุขภาพกายมีผลดีตามมา ทั้งยังพึ่งพาตัวเองได้และยังสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ แต่ในแง่ลบ ถ้าเราโยงนิยามผู้สูงอายุกับอายุสวัสดิการเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อไร คนจะเกิดการต่อต้านขึ้นเหมือนเช่นในประเทศฝรั่งเศส คือเมืองประชากรถึงเกณฑ์ที่จะได้รับเงินสวัสดิการแล้วไม่ได้รับ และอีกประการหนึ่งคือเด็กรุ่นใหม่มักให้ความเคารพผู้สูงอายุ ถ้าเราเลื่อนอายุออกไปมีข้อคิดว่าเด็กๆ รุ่นหลังจะยังเคารพผู้สูงอายุอยู่หรือไม่