การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

 

cover_LTC

คุณรู้หรือไม่

โครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ประชากรวัยเด็กลดลง สวนทางกับประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ประชากรวัยแรงงาน 100 คน ต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุถึง 16 คน เพิ่มจาก 10.7 คน ในปี 2537 ขณะที่อัตราส่วนการเป็นภาระวัยเด็กนั้นลดลงเรื่อยๆ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้ประมาณการณ์ว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 และนั่นหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นไปอีก

ภาวะพึ่งพิง เป็นการวัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ADL (Activity Daily Living) เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว การรับประทานอาหาร รวมไปถึงการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระบ่งบอกถึงความต้องการการดูแล และการจัดบริการช่วยเหลือดูแลที่สังคมควรจัดให้มีขึ้น

สถานการณ์และแนวโน้มที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและอยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นนี้เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะต้องจัดการเพื่อเตรียมระบบสวัสดิการสังคม ระบบบริการสุขภาพที่เป็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในอนาคตให้สามารถรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

                        – การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการ

                        – รูปแบบการดูแลระยะยาวในชุมชนและครอบครัว