การติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วมในแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุฯ จังหวัดนครราชสีมา

 

1020994

การทำงานกับผู้สูงอายุมีโอกาสพลิกฟื้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ของสังคมได้ หากได้ใช้ผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง และมีการออกแบบงานอย่างระมัดระวังให้เข้าถึงบริบทของปัญหา เพราะผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มี Tacit Knowledge หากได้มีการดึงออกมาใช้อย่างเป็นระบบก็จะมีคุณค่าอย่างยิ่ง รวมทั้ง มีนวัตกรรมทางสังคมอีกหลายเรื่องที่เกิดจากความคิดของคนทำงานผู้สูงอายุในชนบท และเขตเมือง เช่น การให้ผู้สูงอายุเป็นคนรับผิดชอบข้อมูล ที่เป็นพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจากการออกแบบ กระบวนการอย่างสอดคล้องกับบริบทของกลุ่มคน / โดย นิวัต อุณฑพันธ์ุ, 2556