ประกาศสดุดีเกียรติคุณ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558

ประกาศสดุดีเกียรติคุณ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558

“เราจะต้องพยายามเข้าใจโลก ทันโลก ผู้สูงอายุควรทำใจ ให้สบาย ไม่ไปต่อต้านเรื่องต่างๆ เพราะแต่ละยุคสมัยนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุต้องวางตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเราแก่แล้วก็ต้องอยู่อย่างเจียมตัว เราจะต้องไม่ไปรบกวนลูกหลาน เพราะเขาก็มีภาระ มีลูกมีหลานที่ต้องคอยดูแล

dd3

ความสุขของเจ้ายายคือ การได้เป็นมนุษย์ธรรมดา ที่มีอยู่มีกิน ได้รับความเป็นมิตรจากผู้คน การได้รับความเป็นมิตรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราอายุยืน มีความเป็นมิตร มีความยิ้มแย้มแจ่มใส พยายามเข้าใจโลก และเข้าใจคนรุ่น ใหม่ว่าเขามีความคิดแบบไหนบ้าง ซึ่งคนแก่บางคนเขาไม่ พยายามที่จะเข้าใจ เราต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับโลก ปัจจุบันให้ได้

เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่

นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มีการมอบรางวัล “ผู้สูงอายุแห่งชาติ” ประจำปี ในแต่ละปี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจะมอบหมายให้คณะ อนุกรรมการสรรหาผู้สูงอายุแห่งชาติดำเนินการสรรหาผู้สูงอายุที่ได้ ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมโดยรวมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่งดงามเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ  โดย “ผูสูงอายุแห่งชาติ” ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ในปี 2558 นี้ได้แก่ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่

ประกาศสดุดีเกียรติคุณ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558

ณ วันเพ็ญเดือนหกปีมะเส็งที่ 22 พฤษภาคม 2472 เจ้านายฝ่ายเหนือองค์น้อยแห่งคุ้มหลวงริมปิงได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา จึงได้รับนามว่า “ดวงเดือน” เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่เป็นธิดาคนที่ 3 ในจำนวน 4 คนของเจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชยงใหม่) กับหม่อมจันทร์เทพย์ ณ เชียงใหม่

ชีวิตในวัยเยาว์

ชีวิตในวัยเด็กของเจ้าดวงเดือนได้รับการอบรมอย่างเคร่งครัดในเรื่องมารยาท ฝึกหัดกาเรือน อาทิ อาหารคาวหวาน แกะสลัก ทำน้ำอบน้ำปรุง ทำสวน ปลูกต้นไม้ ทำยาสมุนไพร กาแสดง ฟ้อนรำทำเพลง เพื่อเป็นตัวแทนต้อนรับอาคันตุกะ ตลอดจนแสดงให้งานสาธารณกศุลต่างๆ จบการศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมต้นจากโรงเรียนวัฒโนทัย (คำเที่ยงอนุสรณ์) มัธยมปลายจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย  สมรสกับคุณพิรุณ อนิทราวธุ อาชีพทนายความ เมอื่อายุ19 ปี มีบุตร 1 คน และธิดา 3 คน

 ชีวิตการทำงานเพื่อสังคม

เจ้าดวงเดือนได้มีบทบาททางสังคมระดับชาติด้วยการออกไปหาเสียงช่วยคุณพิรุณ สามี ในการสมัครเป็สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่จนได้รับเลือกตั้ง ด้วยความที่เป็น นักพูดที่มีวาทศิลป์จึงมีโอกาสจัดรายการวิทยุที่มีสาระชี้นำปัญหาสังคม เป็นรายการที่มี สไตล์แตกต่างกันถึง 4 รายการ ด้วยองค์ความรู้ที่หลากมิติรอบด้าน แนวคิดและวิธีนำเสนอที่ เฉียบคม รายการวิทยุเสียงอเมริกา (Voice of America) จึงมอบเหรียญ VOA. ให้ในฐานะที่เป็นนักจัดรายการวิทยุ นอกจากนยังเป็นบรรณาธิการและเจ้าของ หนังสือพิมพ์ที่ขายดีที่สุดในจังหวัด คือ “เสียงเชียงใหม่” ต่อมาจึงได้ รับการคัดเลือกให้เป็นอุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคเหนือและ อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค

dd2

ปี 2513 สอบเป็นผู้พิพากษาสมทบคดีเด็กและเยาวชนได้อันดับ 1 จึงเป็นสตรีคนแรกทาง ภาคเหนือปฏิบัติหน้าที่อบรมเด็กเป็นอย่างดีจนได้รับโล่ผู้พิพากผู้รักษาความเที่ยงธรรม

ปี 2517 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นสตรี 1 ใน 15 คนในสมัย นั้น ที่ได้ส่งเสริมสถานภาพสตรีในภาคเหนือให้ทัดเทียมบุรุษ

ด้วยความที่เป็นคนรักท้องถิ่นอย่างแรงกล้า จึงเรียกร้องให้สังคมหันมาสนใจร่วมแก้ไขปัญหาที่ถูกซ่อนไว้อย่างจริงจัง อาทิปัญหาสตรีถูกตกเขียวหมู่บ้านดอกคำใต้ รณรงค์ให้สตรีสามารถลุกขึ้นมาสร้างกลุ่มและพัฒนาตนเองไปสู่ความเข้มแข็ง ช่วยรณรงค์วางแผนครอบครัวจน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสนักงานเขต สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย

 ภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมีบทบาทพิทักษ์ความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน  กรณี เด็กไทยอายุ 16 ปี ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรม 19 ศพ ที่วัดไทยในรัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา เพราะเห็นว่าถูกจับเป็นแพะ จึงรณรงค์ด้วยวิธีการรูปแบบต่างๆ เพื่อหาเงินช่วยสู้คดีนานถึง 16 ปี ศาลจึงตัดสินยกฟ้องว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ด้วยเห็นว่ายังมีภาวะว่างงานในกลุ่มสตรีหลังฤดูเก็บเกี่ยว จึงเปิดใต้ถุนบ้านเป็นโรงทอผ้า ซึ่งผ้าไหมเป็นผี่งดงามน่าหลงไหล แต่กว่าจะได้เส้นด้ายใยไหมจำเป็นต้องต้มรังฆ่าตัวแม่ทำบาป ดังน้ัน เจ้าดวงเดือน จึงรณรงค์ที่จะอนุรักษ์ การทอผ้าฝ้ายลายโบราณและสืบสานเคล็ดวิธีการย้อมสีด้วยวิธีธรรมชาติ ศึกษาจริงจังจน ยกมาตรฐานการทอผ้า ขยายผลม่อนดวงเดือนเป็นโรงทอฝ้ายดวงเดือน 2 โรง ต่อยอดเป็น ศูนย์อบรมหัตถกรรมพื้นเมืองจอมทอง จนได้รับการยกย่องจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เชียงใหม่ นับเป็นกิจกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าและสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวบ้านไปพร้อมกัน

ตลอดระยะเวลา 86 ปีที่ผ่านมา จากผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คน และสังคมในวงกว้างของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ สตรีสูงศักดิ์ท่านนี้จึงได้รับการขนาน นามว่า สุภาพสตรีระดับชาติได้อย่างสมความภาคภูมิ เป็นต้นแบบคนดีศรีแผ่นดินและเป็น เพชรน้ำหนึ่งของชาวไทยล้านนา คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็น ประธาน พิจารณาเห็นชอบให้ประกาศสดุดี เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็น ผู้สูงอายุ แห่งชาติ พุทธศักราช 2558 เพื่อบันทึกเกียรติคุณนี้ไว้ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมสืบไป

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////