จุดประกายใช้ NewNormalรับมือสังคมสูงวัย ส่งเสริม Work from home เปิดทางลูกดูแลพ่อ-แม่

โจทย์ใหม่สังคมสูงวัยหลังยุคโควิด-19 ตอนที่ 2 : จุดประกายใช้ NewNormalรับมือสังคมสูงวัย ส่งเสริม Work from home เปิดทางลูกดูแลพ่อ-แม่ ต่อยอดรถพุ่มพวง เพิ่มบริการทางสังคม

ว่ากันว่าสาเหตุหนึ่งที่ผู้สูงวัยไม่มีเงินออม เพราะบางส่วนเลือกที่จะลงทุนกับบุตรหลาน โดยหวังว่าบุตรหลานจะเลี้ยงดูตัวเองตอนแก่ชราแต่หลายคนไม่โชคดีเช่นนั้นหากลูกหลาน ไม่เลี้ยงเรายามแก่ชราจะทำอย่างไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เกิดวิกฤตอย่างการแพร่ระบาดของโควิชด-19   ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องสังคมผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนมุมมองและแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานะทางเศรษฐกิจ ในสังคมสูงวัยในยุคโควิด-19 ผ่าน The101.world เอาไว้อย่างน่าสนใจ

โดยศ.ดร.วรเวศม์ มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของหลายเรื่องในสังคมสูงวัย เช่น หลักประกันทางการเงินในยามชราภาพ ที่โดยปกติแล้วผู้สูงอายุจะมีแหล่งรายได้หลายแหล่ง อาจมาจากลูกหลาน การทำงาน เงินออม หลักประกันจากภาครัฐ แต่เมื่อโควิด-19 เข้ามา มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เกือบทั้งหมดได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการทำงานและรายได้จากลูกหลาน

มีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเงินบำนาญเท่านั้น ที่ยังคงที่ทำให้ผู้สูงวัยสามารถกำหนดชีวิตได้วิกฤตนี้ทุกคนจะเห็นถึงความสำคัญของการออม ทั้งยามชราภาพภาพ และยามฉุกเฉิน ไม่ว่าจะมีโควิด-19แล้วหรือไม่ก็ตาม

ศ.ดร.วรเวศม์ มองว่า ในอนาคตที่จะก้าวไปสู่สังคมสูงวัยในระดับสุดยอด หากมีการจ้างงานต่อเนื่อง หรือ ต่ออายุการทำงานให้กับผู้สูงวัย เมื่อครบกำหนดเกษียณจะทำให้ผู้สูงวัยมีโอกาสได้ทำงานต่อไปได้แต่ในขณะเดียวกัน ยอมรับว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนายจ้างเองจะต้องแบกรับค่าตอบแทน ซึ่งอาจเป็นเงินที่สูงกว่าการจ้างงานในวัยหนุ่มสาว

ดังนั้นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ทุกคนจะต้องพัฒนาทักษะของการทำงาน ให้คนหนึ่งคน สามารถทำงานที่มากกว่า 1 อย่างได้ และจำเป็นที่จะต้องเตรียมการรองรับในทำนองนี้เอาไว้ ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนถ้าปรับตัวได้ก็ยังมีรายได้จากการทำงานอยู่ ผู้สูงวัยก็จะอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยการพึ่งพิงผู้อื่น

ส่วน “ปกติวิถีใหม่” หรือ New normal ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆนั้น จุดประกายบางอย่างให้เกิดขึ้นกับแนวคิดเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เช่น การทำงานที่บ้าน หรือWork from home ที่อาจจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องของการดูแลผู้สูงวัยในสังคมสูงวัยได้เป็นอย่างดีเพราะหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาในการดูแลพ่อแม่ ทำให้ในบางครั้งต้องตัดสินใจว่า จะทำงานต่อ หรือ ลาออก หรือบางคนอาจไม่ลาออก แต่มีความจำเป็นต้องใช้วันลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอบ่อยๆ

ดังนั้นหากในอนาคตผู้ประกอบการยอมรับในระบบทำงานที่บ้านได้ก็จะช่วยเกื้อหนุนและแก้ไขปัญหาให้กลับลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้

อีกหนึ่งไอเดียที่มากับโควิด-19 คือ การพัฒนาต่อยอดรถพุ่มพวง หรือ รถขายกับข้าวตามบ้าน ให้สอดรับกับสังคมสูงวัย เพราะในบางครั้งผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลไม่สามารถออกนอกบ้านได้ศ.ดร. วรเวศม์ ชวนตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่รถพุ่มพวงจะใส่มิติของความเอื้ออาทร ใส่มิติทางสังคม มีการนำบริการอะไรบางอย่างในเชิงสังคมเข้าไปหาผู้สูงอายุที่บ้านเข้าไปด้วย ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้สูงวัยได้ในระดับหนึ่งได้

สังคมสูงวัย เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดผลกระทบกับผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัยเท่านั้น แต่จากกระทบไปกับทุกช่วงอายุเพราะคือการเปลี่ยนแปลงจำนวนและสัดส่วนประชากรทั้งหมดนั่นหมายความการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกระทบในภาพใหญ่ “สังคมสูงวัย” จึงเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม

ขอบคุณที่มาข้อมูล The101.world  สามารถรับฟังรายการเต็มได้ที่https://soundcloud.com/the101world/one-on-one-148