8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ : ดูแลตัวเองอย่างไร?

“อายุมากขึ้น โรคภัยจะถามหา” เป็นคำกล่าวที่ไม่อาจปฏิเสธความจริงได้พ้น เมื่ออายุเข้าสู่วัย 50ปี ร่างกายก็จะเสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีโรคต่างๆ ตามมามากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีวิธีการดูแลรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้น โดยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมี 8 โรค คือ ข้อเข่าเสื่อม หัวใจขาดเลือด  ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ภาวะไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เบาหวาน และโรคสมองเสื่อม โดยมีวิธีการดูแลรักษาด้วยตัวเองดังนี้

โรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง
  2. บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  3. ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด
  4. ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ
  5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่หมาะสม เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ
  6. ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก

โรคหัวใจขาดเลือด

  1. พบแพทย์เพื่อรักษาและปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ
  2. เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด
  3. ถ้าอ้วนควรลดน้ำหนัก
  4. รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ละไขมัน ลดเค็ม รับประทานอาหารที่มีกากมาก / เส้นใยสูง
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม
  6. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น อย่าทำงานหักโหมเกินไป อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไป ระวังอย่าให้ท้องผูก งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจหรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ

ความดันโลหิตสูง

  1. ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้พอดีและหมั่นออกกำลังกาย
  2. ลดอาหารเค็ม งดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผักผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  3. งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดโมโห ตื่นเต้นและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  1. ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ มีเส้นใยอาหารสูง
  2. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
  3. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย
  4. สำหรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานผลไม้ ประเภท ส้ม กล้วย เป็นประจำ

โรคหลอดเลือดสมอง

  1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า
  2. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  3. ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด
  4. บริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อาหารที่มีเส้นใยสูง
  5. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกต
  6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ภาวะไขมันในเลือดสูง

  1. ตรวจไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์
  2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดยCholesterol

– จำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมีกหอยนางรม

– ควรรับประทานอาหารูประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

– ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ

– ลดการบริโภคน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย และใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร โดยใช้ประมาณ 2 – 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

  1. ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงภาวะเครียด

โรคมะเร็ง

  1. ไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีบุหรี่
  2. รับประทานอาหารให้หลากหลาย ที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น ถั่วชนิดต่างๆข้าวกล้อง พืช ผักหลายๆ อย่าง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  3. รับประทานผักและผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาล
  4. รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และเค็มน้อย ลดจำนวนอาหารหมักดองหรือรมควัน และหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  5. งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  6. ทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความเครียดและออกกำลังกายเป็นประจำ

โรคเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหาร อย่าปล่อยให้อ้วนไม่รับประทานของหวาน งดสูบบุหรี่ดื่มสุราและของเค็ม ควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีเส้นใยสูง และออกกำลังกายพอควรอย่างต่อเนื่อง
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล
  3. พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด และสม่ำเสมอ
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำให้แผลหายช้า
  6. มีลูกอมติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหลังรับประทานยาเบาหวาน
  7. ถ้ามีแผลแล้วหายช้าหรือมีความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

โรคสมองเลื่อม

  1. ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
  2. ไม่รับประทานยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา สารเสพติดต่างๆ
  4. ควรให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลข่าวสารโรคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยฝึกความจำ
  5. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  6. พบปะญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ เป็นประจำ
  7. กระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย จะสามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายและสมองได้

การดูแลตัวเองจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ สามารถบรรเทาความเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ขอบคุณข้อมูลจาก สมุดคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข