เปิดข้อเสนอวิถีชีวิตแนวใหม่สังคมผู้สูงอายุในยุค 5G เตรียมพร้อม-รับมือ – ปรับตัว สู่ การเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยี สร้างงาน-คุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้สูงวัย
วิถีชีวิตแนวใหม่ของสังคมผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีเป้าประสงค์ของ เพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีคุณภาพและความมั่นคง
โดยให้ผู้สูงอายุมีทักษะและความสามารถ ในการนํา เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง มีความกระฉับกระเฉงในการดําเนินชีวิตประจําวัน มีความสัมพันธ์ที่ ดีและมีส่วนร่วมทํากิจกรรมกับคนในครอบครัว ชุมชน
ขณะเดียวกันมีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ ดํารงชีพของตนเอง และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดํารงชีวิตประจําวันได้อย่างปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมียุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
รศ.พนม คลี่ฉายา หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ของสังคมผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลไว้อย่างน่าสนใจ 2 ข้อเสนอประกอบด้วย
1.การจัดสวัสดิการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ควบคู่กับพัฒนาเครือข่าย การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสําหรับผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมกับส่งเสริมให้เอกชนจัดบริการเฉพาะผู้สูงอายุโดยได้รับการชดเชยจากรัฐในรูปแบบการชดเชยภาษี ออกผลิตภัณฑ์แพ็คเก็จบริการ (Service Package) ราคาพิเศษสําหรับผู้สูงอายุโดยมีการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐ นอกจากนี้ให้จัดตั้งกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อดําเนินธุรกิจการ ให้บริการสําหรับผู้สูงอายุ
2. เพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีควบคู่กับความรอบรู้ทางดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล จัดการเรียนรู้ โดยกําหนดเป็นหลักสูตรเฉพาะผู้สูงอายุ ผ่านทั้งช่องทางการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ การอบรมโดยชมรมมูลนิธิผู้สูงอายุ และเพิ่มเติมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้วยสื่อออนไลน์ พร้อมกำหนดเป็นนโยบายให้การสนับสนุนธุรกิจเอกชนที่จะลงทุนสร้างแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมเรียนรู้
3.ปกป้องสิทธิและความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สําหรับผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบ ข้อกําหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภค กิจการด้านผู้สูงอายุ ที่จะปกป้องสิทธิและความปลอดภัยในการใช้งานสื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ รวมถึงจัดตั้งศูนย์หน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อรับเรื่องร้องเรียนดําเนินการตรวจสอบ ช่วยเหลือ แก้ไขและเยียวยาครบวงจร
4.ส่งเสริมการออกแบบ ผลิตอุปกรณ์ แอปพลิเคชั่นเฉพาะผู้สูงอายุที่เข้าถึงได้ โดยมีบริการให้ความช่วยเหลือ ให้คําแนะนําในการใช้งานของผู้สูงอายุได้ ในขณะใช้งาน (Real-time) ซึ่งสามารถออกแบบการทํางานด้วย ปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence; AI) หรือใช้การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความช่วยเหลือผ่านทั้งช่องทางการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ การอบรมโดยชมรม มูลนิธิผู้สูงอายุ
ขณะเดียวกันควรมีมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้เอกชนมีการออกแบบ ผลิต อุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นเฉพาะผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ง่าย พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตกับการใช้ชีวิต (Internet of Thing; IoT) ช่วยให้การใช้ชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุสะดวกสบาย ส่งเสริมสุขภาพ
5.ส่งเสริมการสร้างสรรค์เนื้อหาเสริมสร้างพฤฒิพลังสําหรับผู้สูงอายุบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ โดยจัดงบประมาณให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ให้จัดทําเนื้อหา และสร้างแพล็ตฟอร์มสําหรับผู้สูงอายุมากขึ้น รวมไปถึงจัดตั้งองค์กรสื่อออนไลน์สาธารณะสําหรับผู้สูงอายุในรูปปแบบสื่อสาธารณะ (Public Media) ในลักษณะองค์กรมหาชน องค์กรตามนโยบายยุทธศาสตร์ประเทศ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อกําหนดยุทธศาสตร์ด้านเนื้อหาบนสื่อออนไลน์เชิงประโยชน์สาธารณะสําหรับผู้สูงอายุ
สร้างแพล็ตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์สําหรับการเผยแพร่ ประสานรวมรวมส่งเสริมผู้ผลิตเนื้อหาที่มีอยู่ปัจจุบัน เพื่อผสานพลังในการทํางานเสริมสร้างพฤฒิพลังของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต การมีส่วนร่วม ความมั่นคงในชีวิต และการใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันและได้ประโยชน์
1.จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจออนไลน์ (Online Business Incubation Center) สําหรับผู้สูงอายุ โดยช่วยเหลือ สนับสนุนส่งเสริม ให้คําปรึกษา ทํางานร่วมกับผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่กําลังก้าวสู่วัยผู้สูงอายุเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการออนไลน์(Online Entrepreneur) หรือร่วมดําเนินการจัดตั้งธุรกิจออนไลน์กับผู้สูงอายุในด้านการผลิต การตลาด การส่งเสริมการขาย การเงิน การจัดการ การดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ตัวแบบการดําเนินธุรกิจออนไลน์สําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถดําเนินงานผ่านศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษา สนับสนุนให้ขยายการส่งเสริมไปยังกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ รวมไปถึงจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางาน
2.การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านสื่อออนไลน์ เชื่อมโยงคนต่างรุ่นวัยในชุมชน มาร่วมกันคิดร่วมกันทํา สร้างสรรค์เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนสื่อออนไลน์ สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจของชุมชน สามารถดําเนินงานเชื่อมโยงกับศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจออนไลน์สําหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้นจากการสนับสนุนจัดตั้งด้วยงบประมาณภาครัฐเช่น องค์กรบริหารงานส่วนท้องถิ่น กองทุนส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่น หลังจากนั้นเปิดดําเนินการโดยใช้การสนับสนุนจากภาคธุรกิจเอกชน จะช่วยให้สามารถดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
3.สร้างแพลตฟอร์มร้านออนไลน์เป็นช่องทางการตลาดให้แก่ผู้สูงอายุ สร้างร้านค้าออนไลน์(e-Shop) ที่เปิดให้เฉพาะผู้สูงอายุได้นําผลิตภัณฑ์ของตนเองมาจําหน่าย พร้อมรับสมัครผู้สูงอายุและผู้ที่กําลังก้าวสู่วัยผู้สูงอายุที่ต้องการ ค้าขายออนไลน์มาเสนอขายสินค้า
4.ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และการทํางานรับจ้างอิสระผ่านช่องทางออนไลน์ (Online Freelance) โดยเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุที่ต้องการทํางานรับจ้างอิสระเข้ามาเสนอข้อมูลตนเอง และเปิดให้ผู้ต้องการหาคนที่มีความสามารถเฉพาะมาพบปะผู้สูงอายุที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ หรือ ผู้กําลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ร่วมกันสรเางธุรกิจกับคนวัยหนุ่มสาวเข้าร่วมลงทุนวิสาหกิจเริ่มต้นกับคนหนุ่มสาวผ่านคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ
สำหรับการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะนี้นั้นให้ใช้กลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลไกการดําเนินงานตามแนวนโยบายโดยการส่งต่อนโนบายให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กลไกความร่วมมือ องค์กรภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ธุรกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise) กลไกการดําเนินงานที่ให้ความสําคัญกับการเชื่อมประสานระหว่างรุ่นวัย 3 รุ่น และ กลไกการสื่อสารสาธารณะ สร้างกรอบการรับรู้นโนบายผ่านสื่อ (Media Advocacy)
ในปี 2564 ที่จะถึงนี้จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์ ดังนั้นการเตรียมพร้อมทั้งด้านพื้นฐานและการเพิ่มทักษะที่จำเป็น ในการดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมั่นคงเป็นสิ่งที่ต้องดําเนินการในวันนี้ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุในปัจจุบันและผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต