เอกชนเห็นพ้อง “คุ้มค่า” จ้างงานผู้สูงอายุ แต่ยังขาดแรงจูงใจจากรัฐเท่าที่ควร แนะ ปรับปรุงฐานข้อมูลเอื้อจ้างงาน–เพิ่มกองทุนประกันสังคมให้ครอบคลุม
แรงจูงใจในการจ้างงานผู้สูงอายุของบริษัทเอกชน มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน เพราะผลจากการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ , การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการทำ CSR หรือ มีปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงาน และอัตราการลาออกที่สูงในบางตำแหน่งงานแต่ทว่าผลลัพท์ของการรับผู้สูงอายุเข้าทำงานกลับได้ผลที่ “คุ้มค่า”
โดยผลการศึกษา เรื่อง “รูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย ความยืดหยุ่น ผลิตภาพ และความคุ้มครอง โดยดร.ชลธิชา อัศวนิรันดร วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีเสวนา “สังคมสูงวัย : ความพร้อมที่ต้องตั้งรับและความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ” ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่า เอกชนที่ได้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ต่างสะท้อนความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่ารู้สึกคุ้มค่าในการจ้างงานผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความสามารถในการทำงาน และทัศนคติที่ดีในการทำงาน โดยเฉพาะความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความอดทน ความน่าเชื่อถือ และการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีของการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน
อย่างไรก็ตามผลการศึกษาฉบับนี้ยังมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในภาพรวม ที่น่าสนใจหลาายประเด็น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้MOU ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากMOU ถือว่ามีประสิทธิภาพน้อยมาก เนื่องจากไม่มีการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์จาก MOU ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุง MOU ให้สอดคล้องกับความป็นจริง ,การเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลแรงงานผู้สูงอายุ ,ภาครัฐควรเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ข้อมูล และการเข้าถึงฐานข้อมูลการจ้างงานผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ควรปรับปรุงกฎระเบียบและความคุ้มครองให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ,ควรเพิ่มสวัสดิการ และความคุ้มครองที่ตอบสนองต่อความต้องการให้กับแรงงานผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกองทุนประกันสังคม ซึ่งถือเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่แรงงานควรได้รับ รวมถึงการมีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการจ้างงานผู้สูงอายุรายชั่วโมง ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของสิทธิและความคุ้มครองที่ผู้สูงอายุ
สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในแต่ละด้านนั้น ผลการศึกษาได้ให้ความเห็น ว่า จะต้องมีความยืดหยุ่น โดยให้มีการฝึกอบรมเพื่อเปลี่ยนสายงาน , ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างวัย , มีแนวทางที่ชัดเจนในการจ้างงานเฉพาะกลุ่ม
การผลิตภาพการทำงาน เช่น กำหนดสายอาชีพที่ชัดเจน ซึ่งกรณีการจ้างงานต่อเนื่อง ต้องมีชุดทักษะบริหารจัดการ /วิชาชีพเฉพาะทาง และหากมีการจ้างใหม่ ให้มีชุดทักษะสื่อสารประสานงาน เรียนรู้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและทัศนคติที่ดีในด้านการทำงาน ขณะเดียวกันควรเพิ่มบทบาทชุดทักษะทางทัศนคติ Solf Skill งานที่เน้นทักษะอารมณ์ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล บริหารลูกค้า และ Age-appreciaing หรือ ทักษะหลังเกษียณในด้านการควบคุมสติ เจรจาต่อรอง ความเสถียรทางอารมณ์ความรู้สึก
นอกจากนี้ควรมีมีความคุ้มครองจากการทำงาน เช่น ในทางกายภาพต้องปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ,ทางการเงินและสวัสดิการต่างๆ จะต้องส่งเสริมการออมผ่านกองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม ประกันสุขภาพ และการรักษาพยาบาล ขณะที่ในทางความรู้สึก ต้องสร้างสภาพแวดล้อม ความเสมอภาค การตั้งศูนย์ กลไกเพื่อเป็นช่องทางให้ความช่วยเหลือ และการให้คำปรึกษากับผู้สูงอายุ