มส.ผส. เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย จำนวนพุ่งกว่า 11 ล้านคน ชี้ การจัดสวัสดิการสังคมเป็นเรื่องที่ท้าทาย ย้ำ “คนแก่” ไม่ใช่ “ผู้ด้อยโอกาส” ต้องเลิกมองแบบ “สงเคราะห์” แต่ทำให้อยู่อย่างมี “คุณค่า –ศักดิ์ศรี” เผย ไทยโดดเด่น การเข้าถึงบริการสุขภาพผ่านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึงร้อยละ 81 พร้อม ชง 3 ข้อเสนอ ให้คำนึงถึงความยั่งยืนการใช้งบผู้สูงอายุ และเน้นสร้างหุ้นส่วนร่วมดูแล
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เผยแพร่รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562 โดยรายงานระบุว่า ในปี 2562 ไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11.6 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย หรือ อายุ 80 ปีขึ้นไป 1.3 ล้านคน ในขณะที่จำนวนการเกิดในปี 2562 ลดต่ำเหลือเพียง 6.1แสนคนเท่านั้น น้อยกว่าจำนวนการเกิดเมื่อปี 2514 ถึงหนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุมากถึง 20 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าคนไทยทุกๆ 5 คน จะมี 1 คนที่เป็นผู้สูงอายุ และจะมีผู้สูงอายุวัยปลายหรือมากกว่า 80 ปีขึ้นไป มากถึง 3 ล้านคน
รายงานฉบับนี้ ยังระบุด้วยว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุในรอบกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทําให้การจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุกลายเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท้าทายต่อสังคมไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดํารงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้นานที่สุด ภายใต้ความคิดที่ว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคล ด้อยโอกาส หรือเป็นภาระต่อสังคม เพราะผู้สูงอายุ นับเป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และได้สร้างคุณูปการ ต่อการพัฒนาสังคมมาอย่างยาวนาน ดังนั้น ผู้สูงอายุทุกคน ควรได้รับการเคารพและสามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม ตลอดจนได้รับการส่งเสริม เกื้อกูลจากครอบครัว ชุมชน สังคมและรัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ขณะที่สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในสังคมไทย ได้มุ่งสร้างสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่คลอบคลุม 4 เสาหลัก คือ การให้บริการทางสังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม และการสนับสนุนหุ้นส่วนทางสังคม โดยมีขอบเขตทั้ง 7 ด้านของบริการสังคม ประกอบด้วย 1 ด้านการศึกษา มีการให้ข้อมูลข่าวสารและจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ โดยไม่นำประเด็นเรื่องอายุมาจำกัดโอกาสในการศึกษา ซึ่งในปััจจุบันมีโรงเรียนผู้สูงอายุมากกว่า 2พันแห่งทั่วประเทศ
2 ด้านสุขภาพอนามัย การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยผ่านนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านับเป็นการจัดสวัสดิการสังคมที่มีความโดดเด่นของประเทศไทย มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และการอํานวยความสะดวกที่คํานึงถึงความเหมาะสมในการดําารงชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น การให้บริการช่องทางพิเศษ การดูแลระยะยาวสําาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และการสร้างมาตรฐานเพื่อจัดบริการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยให้แก่ผู้สูงอายุ โดยพบว่ามีผู้สูงอายุไทยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุข ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในสัดส่วนที่สูงที่สุด ถึงร้อยละ 81
- ด้านที่อยู่อาศัย ความเพียงพอด้านที่อยู่อาศัยสําหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และ มีภาวะพึ่งพิง ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายของสังคมไทย ทั้งนี้การส่งเสริมการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ในบ้าน ครอบครัว และชุมชนของตัวเองได้นานที่สุด ควรเป็นทิศทางในการจัดสวัสดิการสังคมด้านที่อยู่อาศัยของประเทศไทยต่อไป
- ด้านการทํางานและการมีรายได้ ประเทศไทยมีระบบการส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ มีความพยายามเพื่อขยายอายุการทำงานของผู้สูงอายุ และมีการกำหนดมาตรการต่าง ด้านการจ้างงาน เพื่อเปิดพื้นที่การทํางานให้แก่ผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการให้สิทธิเบี้ยยังชีพที่เป็นสวัสดิการขั้น พื้นฐานซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ
- ด้านนันทนาการ เป็นอีกหนึ่งสวัสดิการสังคมที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุประเทศไทย มีการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านต่างๆ สําหรับผู้สูงอายุ ทั้งด้านกีฬา การท่องเที่ยว และการสร้างสรรค์กิจกรรมนันทนาการต่างๆ ผ่านรูปแบบของเครือข่ายและชมรมผู้สูงอายุ
- ด้านกระบวนการยุติธรรม ผู้สูงอายุไทย มีสิทธิตามมาตรา 11(8) ด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรม หรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง โดยมีช่องทางหรือกลไกให้ผู้สูงอายุเข้าถึงความช่วยเหลือหรือการร้องเรียนหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะ “สายด่วน” ที่เน้นการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีอพม. ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ เฝ้าระวัง เตือนภัยผู้สูงอายุ และจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุตามปัญหาความต้องการในแต่ละพ้ืนที่
และ7. ด้านบริการสังคมทั่วไป เป็นอีกหนึ่งด้านของการจัดสวัสดิการสังคมที่ให้ประโยชน์ครอบคลุมหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบของการลงความคิด ลงแรง และการลงเงินทุน เพื่อส่งเสริมให้การดําารงชีวิตของผู้สูง อายุดําเนินไปอย่าง “ปกติ” และเกิด ความ “สุขใจ” ให้ได้มากที่สุด
ในรายงานของมส.ผส. ยังมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุด้วยกัน 3 ประเด็น คือ1.ทบทวนและคํานึงถึงความยั่งยืนภาระทางด้านงบประมาณอย่างจริงจังต่อการจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือ หรือ ส่งเสริมสวัสดิดารสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีการดำเนินการอยู่ในขณะน้ี เช่น การให้เบ้ียยังชีพ ที่แม้ว่าจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุได้เฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันความท้าทายของภาระทางด้านงบประมาณของประเทศและวิธีการนำเงินที่ได้รับเพื่อไปสร้างประโยชน์ หรือ ต่อยอดเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและการดํารงชีวิตส่วนบุคคลในระยะยาวยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายให้ภาครัฐและสังคม โดยรวมต้องขบคิดพิจารณา
2.ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับปรัชญาในการจัดสวัสดิการสังคมให้ก้าวหน้ากับการเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคมไทย และมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งสําหรับผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มวัยอื่น ในสังคมไทยด้วยการก้าวให้พ้นจากแนวคิดที่มุ่งเน้น “การสงเคราะห์” ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เพื่อเดินหน้าไปสู่การยอมรับแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานของ “สิทธิพลเมือง” ดังนั้นในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด ฐานะใด ต่างควรมีสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานทั้งจากภาครัฐและทุกภาคส่วนในสังคมอย่าง “ทั่วถึง” และ “ถ้วนหน้า”
และ 3.กระจายความรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการสังคม ผ่านการสร้าง “หุ้นส่วน” ด้วยการให้ภาคส่วนต่างๆ ที่มีศักยภาพในสังคม ทั้งจากครอบครัว อาสาสมัคร ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ลดบทบาทการเป็น “เจ้าของ” และการเพิ่มบทบาทการเป็น “เจ้าภาพ” ในการจัดสวัสดิการของรัฐ ไม่เพียงจะช่วยแบ่งเบาภาระทางงบประมาณของภาครัฐ แต่ยังเป็นการส่งเสริมขีดความสามารถในการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทยให้เป็นไปตามแนวนโยบาย “สวัสดิการแห่งรัฐ” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave no one behind) และนําพาคนไทยทุกคนสู่ความเท่าเทียมอย่างแท้จริง .-
———————————