เปิดผลสำรวจสาเหตุที่ทำให้เกิดการผลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

เปิดผลสำรวจสาเหตุที่ทำให้เกิดการผลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มาจาก สิ่งแวดล้อมสุขภาพ พบ หกล้มในบ้านมากที่สุด ขณะที่ส้วมยังเป็นแบบนั่งยองมากกว่าครึ่งส่วนห้องนอนห้องน้ำ มีราวจับช่วยพยุงไม่ถึงร้อยละ 10 

อัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าทุกกลุ่มอายุกว่า 3 เท่าอีกทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตให้ผู้สูงอายุและครอบครัวต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งทางตรงและทางอ้อม  ด้วยเหตุนี้รศ.จิราพร เกศพิชญวัฒนา และดร.ภัทรพร คงบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษานโยบายและการดำเนินงานการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากมูนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ทำการศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม และปัจจัยเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดี ที่ดำเนินมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้ม เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนามาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

โดยพบว่าปัจจัยการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุบางส่วน มาจากปัจจัยทางสังคมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการสำรวจที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ พบว่า ที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ มีราวจับที่บันไดร้อยละ 59.6  มีราวจับในห้องนอนเพียงร้อยละ 3  และมีราวจับในห้องน้ำร้อยละ 9.7 

ส่วนห้องนอนพบว่ามีผู้สูงอายุที่มีห้องนอนอยู่ชั้นล่าง ร้อยละ 75.5  และมีห้องน้ำอยู่ในตัวบ้านร้อยละ 80.4   ขณะที่ลักษณะของส้วมที่ใช้พบว่ายังเป็นแบบนั่งยองร้อยละ 51  ด้านสุขภาพที่เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ ในส่วนของการมองเห็น พบว่า ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่นร้อยละ52.7  อีกส่วนเห็นชัดแต่ต้องใส่แว่นร้อยละ 32.1 และมองเห็นไม่ชัดมองไม่เห็นร้อยละ 15.2

ด้านการได้ยินผู้สูงอายุร้อยละ 84.9 ได้ยินชัดเจน ผู้สูงอายุร้อยละ 2.6 ได้ยินชัดแต่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง และผู้สูงอายุร้อยละ 12.5 ได้ยินไม่ชัดไม่ได้ยินนอกจากนี้พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ สัดส่วนร้อยละ 19.7  และไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ร้อยละ  15.8 

ผู้สูงอายุร้อยละ 55.8 ไม่มีภาวะทุพพลภาพ ขณะที่ร้อยละ 27.3 มีภาวะทุพพลภาพ 1-3 ชนิด และร้อยละ 44.2 มีภาวะทุพพลภาพอย่างหนึ่งอย่างใด

ขณะที่พฤติกรรมของผู้สูงอายุนั้น พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 70 ไม่ออกกำลังกาย ขณะเดียวกันมีผู้สูงอายุร้อยละ 2.6 ดื่มแอลกอฮอล์ และมีผู้สูงอายุร้อยละ 8.3 สูบบุหรี่

อย่างไรก็ตามพบว่า ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้น 1.55 เท่า เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่กท่มแอลกอฮอล์ ที่มีความเสี่ยงต่อการล้มมากกว่า ผู้ที่ไม่กื่มแอลกอฮอล์ 2.51 เท่า 

งานวิจัยยังพบว่า การหกล้มพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 9 เคยหกล้มอย่างน้อย1ครั้ง โดยสถานที่หกล้มพบว่า หกล้มภายในตัวบ้านมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.1  รองลงมาคือหกล้มบริเวณตัวบ้านร้อยละ 29.3 และหกล้มนอกบริเวณบ้านร้อยละ 34.6 

โดยหกล้มครั้งสุดท้ายผู้สูงอายุเข้ารักษาในสถานะสถานพยาบาลเป็นคนไข้ในร้อยละ 7.6 เข้ารักษาในสถานพยาบาลเป็นคนไข้นอกร้อยละ 17 รักษาเองร้อยละ 22.4 และไม่รักษาเลยร้อยละ 53

//////////////////