เปิดรายได้-รายจ่าย กับภาระหนี้ที่ต้องแบกรับของผู้สูงวัยไทย

เปิดรายได้-รายจ่าย กับภาระหนี้ที่ต้องแบกรับของผู้สูงวัยไทย

“อยากอยู่สบายตอนแก่ต้องมีเงินเท่าไหร่?

เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอๆ ตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีหน้า ไทยจะเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การจัดการทรัพย์สินทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุไทย ภายใต้แผนงานวิจัยการศึกษาการจัดการทรัพย์สินสำหรับผู้สูงอายุไทย โดยรศ.ดร.สันติ ถิรพัฒน์และคณะ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 1,091 ตัวอย่าง ช่วงอายุระหว่าง 5570 ปี แยกตาม 6  พื้นที่ คือ กรุงเทพและปริมณฑล จังหวัดราชบุรี จังหวัดพะเยา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดตราด และจังหวัดนครศรีธรรมราช

เพื่อนำข้อมูลการบริหารจัดการทรัพย์สินของผู้สูงอายุไทย ไปประเมินความต้องการเกี่ยวกับกลไกทางเลือกในการจัดการทรัพย์สินของผู้สูงอายุ และรูปแบบในการบริหารจัดการทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงบริบทด้านสังคมและปัจจัยอื่นๆ  

โดยพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างกว่าหนึ่งพันรายนั้น อยู่กับสามีภรรยา ร้อยละ 44.83 รองลงมาคือลูกหรือหลาน ร้อยละ 42.56

มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาท คิดเป็นจำนวนร้อยละ 54.35 ตามด้วยรายได้ 5,00110,000 บาท ร้อยละ 25.37 รายได้ 10,001 20,000 บาท ร้อยละ 7.69

โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำอาชีพอิสระ คือ ภาคการเกษตรร้อยละ 24.30 รองลงมา มีรายได้จากบุตรหลานหรือญาติ ร้อยละ 20.04ตามด้วยเบี้ยผู้สูงอายุร้อยละ 15.01

ขณะที่รายจ่ายเพื่อการดำรงชีพโดยเฉลี่ยต่อเดือน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายจ่ายเพื่อการดำรงชีพน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 46.36 รองลงมามีคือ มีรายจ่ายเพื่อการดำรงชีพโดยเฉลี่ย 5,00110,000บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 34.19 และ มีรายจ่าย 10,001 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 9.77

อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 51.37 มีรายจ่ายเพื่อดูแลบุตรหลานหรือญาติด้วย ขณะที่เหลือร้อยละ 49.63 ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

ขณะเดียวกันมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 52.88 ที่ยังคงต้องมีภาระจ่ายคืนหนี้สิน แต่ผู้สูงอายุร้อยละ 47.12 ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

 

งานวิจัยยังได้ศึกษาทักษะทางด้านการเงินและความสามารถของกระบวนการคิด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทางการเงิน โดยพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างนี้มีความรู้ทางด้านการเงินระดับปานกลาง

อย่างไรก็ตามเมื่อผู้วิจัยพิจารณาทักษะด้านการเงิน และความสามารถของกระบวนการคิด แยกตามช่วงอายุ ไม่พบว่าทักษะทางด้านการเงินและความสามารถของกระบวนการการคิดของผู้สูงอายุลดลงเมื่อช่วงอายุสูงขึ้น

////