เปิดสถานการณ์ “สูงวัย” ในอาเซียน พบผู้สูงอายุมีจำนวนร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด

เปิดสถานการณ์ “สูงวัย” ในอาเซียน พบผู้สูงอายุมีจำนวนร้อยละ 11ของประชากรทั้งหมด มี 6 ประเทศขึ้นแท่นสังคมสูงอายุแล้ว  เผยTop3“สิงคโปร์-ไทย-เวียดนาม”  มีสัดส่วนผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากที่สุด ขณะที่น้อยที่สุด คือ “ลาว-กัมพูชา”

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ  ได้รวบรวมสสถานการณ์การสูงวัยของประชากรอาเซียน โดยพบว่าในปี 2020 ประเทศอาเซียนมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 664 ล้านคน โดยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 73 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11 และมีผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป 7.6 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราผู้สูงอายุวัยปลายร้อยละ 1.1

ในปี 2020 ประเทศสมาชิกอาเซียนมากถึง 6 ประเทศได้กลายเป็นสังคมสูงอายุแล้ว ประกอบด้วย สิงคโปร์ มีผู้สูงอายุร้อยละ 20.9 , ไทย มีผู้สูงอายุร้อยละ 18.1 , เวียดนาม มีผู้สูงอายุร้อยละ 12.3 , มาเลเซีย มีผู้สูงอายุร้อยละ 11 , อินโดนิเซีย มีผู้สูงอายุร้อยละ 10.1 , และเมียนมา มีผู้สูงอายุร้อยละ 10 ซึ่งเมียนมาเพิ่งเป็นสังคมสูงอายุในปีนี้เอง ขณะที่ลาวและกัมพูชา ยังเป็นประเทศที่มีประชากรเยาว์ไวที่สุดของอาเซียน โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปไม่ถึงร้อยละ 7

อย่างไรก็ตามประชากรอาเซียนในอนาคตหรือในอีก 20 ปีข้างหน้า คือปี 2040สหประชาชาติ ได้ประมาณการณ์ว่า ประชากรอาเซียนจะมีจำนวน 764 ล้านคน โดยอาเซียนจะมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 143 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.7 และมีประชากรสูงอายุ 80 ปีขึ้นไปจำนวน 19.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 และทุกประเทศในอาเซียนจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุ”

และในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีมีประเทศในอาเซียน ที่เป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย บรูไนและ เวียดนาม โดยสิงคโปร์และไทย จะเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด”

//////////

 

ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี2563สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ลิงค์แนบนี้