เปิดคู่มือ Home Isolation ตอนที่ 1 อาการแบบไหนแยกกักที่บ้านได้

เปิดคู่มือ Home Isolation ตอนที่ 1 : อาการแบบไหนแยกกักที่บ้านได้

 

ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขซึ่งมีทรัพยากรอย่างจำกัด แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการเพิ่มเตียงและเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้นแต่ก็ไม่เพียงพอ

จนนำไปสู่การหาทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วย “Home Isolation” หรือ การแยกกับตัวที่บ้านผ่านระบบติดตามดูแลอาการ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโควิดอาการไม่รุนแรง (ผู้ป่วยสีเขียว) หรือ ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วันซึ่งสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อได้ โดยต้องผ่านความยินยอมของหมอ

การแยกกับตัวที่บ้านจะช่วยลดความติดขัดของระบบการดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมาก และทำให้ระบบบริการสามารถตอบสนองต่อผู้ที่มีความจำเป็นเฉพาะหน้าได้

โดยข้อดีของการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยสีเขียว  ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่มแล้ว การอยู่บ้านยังช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เมื่อสุขภาพจิตที่ดีทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และช่วยให้คนป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการดูแลรักษาที่เร็วขึ้นแก้ปัญหาที่เข้าไม่ถึงการระบบบริการทางการแพทย์

 

สำหรับผู้ป่วยสีเขียวจะมีอาการทั่วไป ดังนี้ มีไข้ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป,มีระดับออกซิเจนในเลือดไม่ต่ำกว่า 96% ,ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ , ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดงมีผื่น ,ถ่ายเหลว 

และจะต้องไม่มีอาการดังนี้ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจลำบากและไม่มีปอดอักเสบ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการจะเข้าเกณฑ์การเป็นผู้ป่วยสีเขียว แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้กักตัวที่บ้านได้เพราะ

ผู้ที่จะกักตัวที่บ้านได้ ต้องมีคุณสมบัติ คืออายุไม่เกิน 60 ปี พักอาศัยอยู่คนเดียวหรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกินหนึ่งคน ไม่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงได้ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนโรคเบาหวาน โดยการพิจารณาขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์

ที่มา : “คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน” (Home isolation)  โดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ดาวน์โหลดฉบับเต็มhttps://www.thaihealth.or.th/Books/735/คู่มือ+การแยกกักตัวที่บ้าน+(Home+Isolation).html

////