เปิดรายได้ผู้สูงอายุชายแดนใต้ พบส่วนใหญ่ไม่พอใช้จ่าย เผยกลุ่มตัวอย่างมีรายได้น้อยที่สุดวันละ 20 บาท

เปิดรายได้ผู้สูงอายุชายแดนใต้ พบส่วนใหญ่ไม่พอใช้จ่าย เผยกลุ่มตัวอย่างมีรายได้น้อยที่สุดวันละ 20 บาท   ขณะที่ภาพรวมคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง แต่สภาพจิตใจยังแข็งแรง ลูกหลานไม่ลดทอนคุณค่า

พื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้มีอัตลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นในประเทศอีกทั้งยังมีปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน

ดังนั้นบทบาทของรัฐต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรสูงวัยในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และทิศทางการบริหารเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้ตรงกับความต้องการทางสังคมและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

งานวิจัยการศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ของรองศาสตราจารย์ไข่มุก อุทยาวลี และคณะผู้วิจัยคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ไ้ด้ทำการศึกษาผลการดำเนินการอุปสรรคการพัฒนาและวิจัยเพื่อศึกษาถอดบทเรียนตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ประสบผลสำเร็จในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ .ปัตตานี .ยะลาและจ.นราธิวาส เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมในการดำเนินการสำหรับพื้นที่ชายแดนภาคใต้

โดยได้สำรวจผู้สูงอายุในสามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ จำนวน 100 คน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ รองลงมาคือจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอื่นๆ เช่นปริญญาตรี ,ปอเนาะ ตามลำดับ

โดยผู้สูงอายุมีรายได้ประมาณ 2,275 บาทต่อเดือน รายได้ต่ำสุด 600 บาทต่อเดือน และรายได้สูงสุด 20,000 บาทต่อเดือน เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าส่วนใหญ่รายได้ไม่พอใช้จ่ายร้อยละ 47 

เมื่อสอบถามเชิงลึกถึงรายได้ไม่พอใจจ่าย พบว่า ในจำนวนนี้ไม่พอใช้จ่ายแต่ไม่มีหนี้สินร้อยละ31  อีกร้อยละ 17ไม่พอใช้จ่ายและมีหนี้สินร้อยละ  

ขณะที่ผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกร้อยละ 35 ระบุว่ามีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายและมีเพียงร้อยละ 7เท่านั้นที่มีเหลือเก็บ โดยผู้สูงอายุบางส่วนต้องการให้เพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุมากกว่าที่ได้รับ เนื่องจากไม่พอใช้จ่าย

ส่วนลักษณะครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะดูแลตัวเองได้ และผู้สูงอายุไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เนื่องจากว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ปฏิบัติศาสนกิจเพื่อมุ่งไปสู่อนาคตมากกว่าการรวมตัวทางสังคม

สำหรับสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่คือสิทธิประกันทุกภาพถ้วนหน้า  รองลงมาคือสวัสดิการข้าราชการอื่นๆ และสวัสดิการประกันสังคม

งานวิจัยยังได้สำรวจระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในสังคมของผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ภาพรวมทั้งสามจังหวัด พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง 

โดยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ได้คะแนนเฉลี่ย 22.21 คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คะแนนเฉลี่ย16.32  คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม คะแนนเฉลี่ย 9.29 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม คะแนนเฉลี่ย 3.15 คุณภาพชีวิตโดยรวม คะแนนเฉลี่ย 3.12

 

ผู้สูงอายุในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีระดับความต้องการด้านสวัสดิการภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบความต้องการสวัสดิการด้านรายได้ สวัสดิการด้านความมั่นคงทางสังคมครอบครัวผู้ดูแล และการคุ้มครองสวัสดิการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล

ขณะที่ความต้องการระดับปานกลาง มี 2 ด้าน คือ สวัสดิการด้านที่พักอาศัย และสวัสดิการด้านนันทนาการ

ผลวิจัยนี้พบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ

อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุทั้งสามจังหวัดไม่ได้เกิดความรู้สึกถูกลดคุณค่าและถูกลดบทบาทในครอบครัวเนื่องจากว่าลูกหลานยังให้ความเคารพและนับถือ เอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ

เช่นเดียวกับการเข้าถึงบริการและสิทธินั้น ผู้สูงอายุระบุว่าไม่มีความยากลำบากในการเข้าไปใช้สิทธิรับบริการต่างๆ เพราะหน่วยงานได้เข้ามาให้บริการถึงบ้าน

ส่วนการประชาสัมพันธ์แม้ว่าจะมีบ้างที่ผู้สูงอายุไม่รับทราบแต่ก็ไม่มีอุปสรรคใดๆในการใช้บริการต่างๆของรัฐ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุบางคน ยังมีลูกหลานพาไปรับบริการใช้สิทธิตามปกติ แต่มองว่าบางครั้งมีปัญหาการจัดการลำดับการเข้ารับบริการที่ทำให้เกิดการล่าช้าบ้าง

ส่วนสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุนั้นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีความประสงค์ที่จะอาศัยในสถานสงเคราะห์เนื่องจากมีผลทางด้านจิตใจมองว่าการได้อยู่บ้านกับบุตรหลานของตนนั้นเป็นเรื่องที่ดีขณะเดียวกันยังมองว่าการดำเนินการต่างๆยังไม่ทั่วถึง และควรที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่ยากจน ไร้ที่พึ่งพาก่อน

//////