เปิดแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชายแดนใต้ ยึดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม

เปิดแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชายแดนใต้ ยึดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ให้ปอเนาะตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพแบบวิถีอิสลาม 

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐได้มีนโยบายและโครงการส่งเสริมผู้สูงอายุ โดยมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอิสลามในท้องถิ่น

งานวิจัยเรื่อง  การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดใช้แดนภาคใต้โดยรองศาสตราจารย์ไข่มุก อุทยาวลี และคณะผู้วิจัยคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ระบุว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีนโยบายสนับสนุนให้ปอเนาะเป็นแหล่งดูแลผู้สูงอายุ 

ในปี 2561 มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 227,110 คน แต่มีผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง หรือ 122,654 คนที่ต้องการความช่วยเหลือ  

โดยนโยบายดูแลผู้สูงอายุนี้ได้ทดลองพัฒนาปอเนาะจำนวน 10 แห่ง ในพื้นที่ของอำเภอรามันจังหวัดยะลา ด้วยโครงการจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามวิถีอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้  

และยังมีการส่งเสริมด้านอาชีพและสุขภาพผู้สูงอายุในปอเนาะ ได้ส่งเสริมกิจกรรมการใช้เวลาว่างและความสัมพันธ์ในหมู่คณะ เป็นการบูรณาการหลักศาสนาอิสลามและสุขภาพ ซึ่งอาจช่วยให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยการใช้ศาสนสถานเป็นที่เผยแพร่ความรู้โดยผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่นที่สอดให้คนรักครอบครัวและรักสุขภาพตามหลักศาสนาสามารถนำไปสู่แนวทางปฏิบัติได้จริง

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการบูรณาการทางวัฒนธรรมและศาสนาสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางสังคมรัฐได้ให้ความสำคัญในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ แตกต่างจากด้านบริบททางวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นของประเทศ เนื่องจากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ รัฐได้นำแนวทางสังคมพหุวัฒนธรรมมาบูรณาการ ใช้การสร้างเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ซึ่งประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

โดยการสร้างความเข้าใจจะทำให้สามารถลงลึกไปถึงประชาชนในหมู่บ้านมากขึ้น ควบคู่กับการสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้ โดยการสามารถรักษาอัตลักษณ์และมีความหวังถึงคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกัน

//////////////