นักวิชาการ เบรกแนวคิดปรับเบี้ยยังชีพคนชรา จากสวัสดิการของรัฐเป็นระบบสงเคราะห์

นักวิชาการ เบรกแนวคิดปรับเบี้ยยังชีพคนชรา จากสวัสดิการของรัฐเป็นระบบสงเคราะห์ มีไว้สำหรับคนยากจน ย้ำ เป็นหลักประกันด่านสุดท้ายของผู้สูงอายุทุกคนถึงเวลาควรได้รับและควรต้องมองภาพรวมไม่ต่างคนต่างทำ ขณะที่ภาคประชาชน ลั่นเดินหน้าระบบบำนาญแห่งชาติ รับเงินรายเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่สภาพัฒน์ฯกำหนด 

เมื่อวันที่ 30 กันยายน มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสาธารณะเช็กอาการ X-Ray เบี้ยยังชีพ สู่บำนาญแห่งชาติโดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชียวชาญด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ,นายนิมิตร์ เทียนอุดม เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

.ดร.วรเวศม์  สุวรรณระดา  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึงการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นระบบบำนาญแห่งชาติ ว่า สิ่งสำคัญต้องดูที่เจตจำนงของรัฐบาลว่าจะพาประเทศไปในทิศทางใด  ซึ่งหลักประกันด้านการเงินสำหรับผู้สูงอายุที่ดีควรทำหน้าที่ 3 ประการ คือ1.ทำให้ผู้สูงอายุไม่ตกอยู่ในสภาวะยากจน 2.ช่วยเกลี่ยทรัพยากรทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุยามชราภาพไม่ต่างไปจากการอยู่ในช่วงวัยแรงงานมากนัก และ 3.ช่วยลดความเสี่ยงจากการอายุยืน เพราะทุกคนไม่ทราบว่าตัวเองจะมีอายุถึงเท่าไหร่ 

สำหรับการสร้างหลักประกันนั้นมี 3 วิธี คือ 1.ใช้แนวทางการออม 2.การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (ระบบประกันสังคม) และ3.การใช้รัฐสวัสดิการ ที่รัฐใช้งบประมาณในการจัดสรรให้ประชาชน ซึ่งทั้ง 3 แบบมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน โดยประเทศไทยจะต้องหาแนวทางว่าจะเน้นไปที่วิธีการแบบใดและผสมผสานอย่างไรเพื่อให้เกิดหลักประกันด้านการเงินสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่เรื่องนี้ต้องพิจารณาที่เจตจำนงทางการเมืองและงบประมาณของแผ่นดินด้วย  

ตอนนี้มีข่าวออกมามากมาย โดยเฉพาะความพยายามในการเปลี่ยนแปลงให้เบี้ยยังชีพกลับไปสู่ระบบการสงเคราะห์ ให้กับคนชราที่ยากจน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรที่จะรีบร้อนพิจารณา เรื่องนี้ต้องมองไปข้างหน้า เพราะในขณะนี้ภูมิทัศน์ของระบบบำนาญประเทศอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการเสนอร่างพ...กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับให้คนที่เป็นลูกจ้างที่ยังไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อีกทั้งกองทุนประกันสังคมก็กำลังปรับตัวหลังจากวิกฤตโควิด เพราะถ้าไม่ปรับตัวลูกจ้างที่อยู่ในระบบก็จะลำบาก  ขณะเดียวกันมีร่างพ...คณะกรรมการนโยบายบำนาญแห่งชาติจะเป็นกลไกเข้ามาดูแลภาพรวมทั้งหมดอีกด้วย.ดร.วรเวศม์ กล่าว

.ดร.วรเวศม์ ระบุว่า เบี้ยยังชีพคนชราในขณะนี้ทำหน้าที่เปรียบมือนบำนาญพื้นฐานของผู้สูงอายุ แม้ว่าจะได้รับในจำนวนที่น้อยมาก แต่ก็เป็นหลักประกันด่านสุดท้ายของผู้สูงอายุ ซึ่งหากมีการปรับไปแบบสงเคราะห์  หลักประกันด่านสุดท้ายที่ผู้สูงอายุที่คุณคนมี ก็จะกลายเป็นเบี้ยที่ได้รับเพียงบางคน ดังนั้นควรจะยังคงหลักการการให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบเดิมไปอีกระยะหนึ่งในช่วงที่ระบบต่างๆยังไม่นิ่ง

ระบบบำเหน็จบำนาญของเรา  เป็นระบบปิ่นโต วันนี้ขอให้ทุกฝ่ายมองปัจจุบันให้ตรงกันให้ได้ก่อนจะเดินต่อไป เพราะปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก บางคน มีปิ่นโตเถาเดียว บางคนมีปิ่นโตสามเถา ที่สำคัญภาครัฐต้องมองผู้สูงอายุทั้ง 2 ฝั่ง คือฝั่งที่สูงอายุแล้ว คนอายุ 60 ปีขึ้นไป และฝั่งที่ยังไม่สูงอายุ คืออยู่ในวัยทำงาน ซึ่งเสียงของคนกลุ่มที่ยังไม่สูงอายุมีความสำคัญอย่างมาก ว่าเขามองอนาคตตัวเองอย่างไร อยากได้เบี้ยยังชีพหรือ อยากได้หลักประกันที่เขาสร้างเองได้ด้วย และต่อไปการสงเคราะห์คนยากไร้กับนโยบายบำนาญ ควรต้องแยกออกเป็นคนละเรื่องกัน.ดร.วรเวศม์ ระบุ

 

ด้านนางศิริลักษณ์  มีมาก  ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุกล่าวว่า จุดเริ่มของเบี้ยยังชีพในปี 2536 คือการสงเคราะห์เพื่อเติมเต็มให้กับผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน  จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน  ก่อนที่ในปี2546 ได้ถ่ายโอนให้กับท้องถิ่น และปรับเงื่อนไขจากเดิมที่เป็นการสงเคราะห์ โดยให้เป็นเบี้ยยังชีพรายเดือน เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุทั่วไป เว้นผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เช่นข้าราชการบำนาญ  จนกระทั่งล่าสุดที่มีการปรับเบี้ยยังชีพเป็นแบบขั้นบันได  600-1,000 บาทต่อเดือน 

ขณะนี้ที่ได้ยินได้ทราบกันจะมีการพัฒนานโยบายเบื้ยยังชีพ โดยมีการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากมาตรา 48 วรรคสองในรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐต้องมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอ  ทำให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ให้คณะอนุกรรมการไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ แหล่งที่มารายได้  ความครอบคลุม ความคุ้มครอง และความมั่นคงของผู้สูงอายุ แต่ถ้าจะเพิ่มก็ต้องมีการหารืออีกหลายประการผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ ระบุ

ขณะที่นายนิมิตร์  เทียนอุดม  เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่าแนวทางการจะขับเคลื่อนไปสู่ระบบบำนาญของผู้สูงอายุทุกคน คือการแก้ไขพ...ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งมีการบัญญัติเบี้ยยังชีพอยู่ในนั้นและกำหนดที่มาของงบประมาณ โดยใช้โครงสร้างทางภาษีมาสนับสนุนงบประมาณตรงนี้ โดยมีการพูดถึงการจัดเก็บภาษีอนาคต เช่นหากในอนาคตประเทศไทย มีพ...การพนัน ค่าธรรมเนียมและภาษีต่างๆที่เกิดจากพ...การพนันนี้จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ มาใช้ในการจ่ายบำนาญรวมถึงรายได้จากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ก็จะให้รัฐมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท 

 

นายนิมิตร์ ระบุว่า หากสามารถผลักดันกฎหมายดังกล่าวได้สำเร็จก็จะเป็นการช่วยผู้สูงอายุในแนวทางของรัฐสวัสดิการ เป็นหลักประกันด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เพราะการเป็นผู้สูงอายุที่มีบำนาญถือเป็นผู้ที่มีหลักประกันให้กับชีวิต   ซึ่งการจะเกิดรัฐสวัสดิการได้นั้นจะต้องสร้างแรงกดดันให้กับผู้กำหนดนโยบายให้เห็นความสำคัญ และหากผลักดันกฎหมายนี้สำเร็จ จะทำให้ผู้สูงอายุได้เงินเป็นรายเดือนที่ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด และจะมีการปรับปรุงฐานทุก 3 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐิจและสังคม ไม่เหมือนกับเบี้ยยังชีพที่คงที่ โดยเริ่มที่ 600 บาท ต่อเดือนมา 15 ปีแล้ว 

 

ผู้สูงอายุแต่ละคน พัมนาบุคคลของประเทศมา เลี้ยงลูกหลานมา เงินเดือนที่ได้มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ใช้เพื่อตัวเอง ส่วนใหญ่นำไปใช้กับอนาคตลูกหลานทั้งนั้น ผู้สูงอายุจึงถือเป็นผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นเมื่อถึงวัย เขาก็มีสิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนนี้กลับมา และถ้าได้ ไม่ใช่เปลี่ยนชีวิตเฉพาะผู้สูงอายุ แต่จะเปลี่ยนสังคม เกิดการไหลเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน ในครอบครัวด้วย   เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการระบุ

 

///////////////