โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย

โครงการการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย โดย นพ.สกานต์ บุนนาค ภาระโรคส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุเกิดจากกลุ่มโรค NCD 95% ของผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติหรือคนรู้จักดูแลไม่มีกำลังจ้างหรือซื้อบริการการดูแลจากเอกชน รัฐจึงควรใช้จุดเด่นของสังคมไทยโดยส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือในชุมชนให้มากที่สุด และสนับสนุนการดูแลในสถานพยาบาลเท่าที่จำเป็น

bua

March 22, 2021

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ภุชงค์ เสนานุช ศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 แห่ง  ทั้งนี้ สถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจหลักในการดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์  ผลที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ จะนำไปสู่การปรับปรุงภารกิจ มาตรการ รวมถึงแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

โครงการ การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดย ศ.ระพีพรรณ คำหอม โครงการ “การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ”ศึกษาสถานการณ์และนโยบายผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในศูนย์ฯ จำนวน 12 แห่ง แนวคิดและนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในสถาบันเป็น Protective Welfare บริการที่จัดให้เป็นบริการเชิงสงเคราะห์

bua

March 22, 2021

โครงการ ผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

โครงการผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดย รศ.ดร. วรรณลักษณ์ เมียนเกิด งานวิจัยนี้มีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบการให้บริการ รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างเหมาะสมต่อไป

bua

March 22, 2021

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต

ปฏิรูประบบบำนาญไทยเพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต โดย ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา ระบบบำนาญของไทยในปัจจุบันมีหลายระบบย่อยที่มีกฎหมาย หน่วยงานรับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับดูแล กฎกติกา และแหล่งที่มาของเงินแตกต่างกัน ระบบมีการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้าในส่วนของบำนาญระดับพื้นฐานและบำนาญส่วนเพิ่มอื่น แต่ความครอบคลุมยังจำกัด ความพอเพียงมีเฉพาะประชาชนในบางกลุ่ม ภาระค่าใช้จ่ายด้านบำนาญมีสัดส่วนต่อรายจ่ายจริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ ในอนาคตรัฐบาลควรที่จะวางยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ มองผู้รับประโยชน์เป็นศูนย์กลาง และมีคณะกรรมการพิจารณาภาพรวมของระบบ

bua

March 22, 2021

โครงการ การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย Active and Productive Aging ระยะที่ 3

โครงการ การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย Active and Productive Aging ระยะที่ 3 โดย นางสุทธิกานต์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ การทบทวนและจัดกระบวนการเพื่อจัดทำแผนการวิจัย เพื่อเตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การวิจัย และโครงร่างการวิจัยด้าน Active and Productive Aging ระยะที่ 3 เพื่อให้ได้กรอบการวิจัยและและโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์ท้าทายการทำงาน    

bua

March 22, 2021

ประกาศมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เรื่อง ผลการคัดเลือกเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) ภายใต้แผนการวิจัยสังคมสูงวัยที่ยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (Sustainable Ageing Societies Under New Normal)

ตามที่ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศ    การรับเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) ภายใต้แผนการวิจัยสังคมสูงวัยที่ยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตใหม่  ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 นั้น ในการนี้ มส.ผส. ได้พิจารณาคัดเลือกเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) เสร็จสิ้นแล้ว โดยมีเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) ที่ผ่านการพิจารณาเพื่อพัฒนาต่อเป็นข้อเสนอการวิจัย (Proposal)

bua

December 15, 2020

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ   การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ทั้งในแง่สิทธิประโยชน์และความครอบคลุม การจะส่งเสริมและพัฒนากลไกการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น อาจทำได้โดยการพิจารณาถึงข้อเสนอแนะสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง ทบทวนและคำนึงถึงความยั่งยืน อย่างจริงจังต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุผ่านโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือหรือส่งเสริมสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เช่น การให้เบี้ยยังชีพที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการด้านการทำงานและการมีรายได้สำหรับผู้สูงอายุ แม้ว่าจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุได้เฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันความท้าทายของภาระทางด้านงบประมาณของประเทศและวิธีการนำเงินที่ได้รับเพื่อไปสร้างประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและการดำรงชีวิตส่วนบุคคลในระยะยาว ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายให้ภาครัฐต้องขบคิดพิจารณา สอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับปรัชญาในการจัดสวัสดิการสังคมให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งสำหรับผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มวัยอื่นในสังคมไทย ด้วยการก้าวให้พ้นจากแนวคิดที่มุ่งเน้น ‘การสงเคราะห์’ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เพื่อเดินหน้าไปสู่การยอมรับแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานของ ‘สิทธิพลเมือง’ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด หรือมีเศรษฐานะใด ต่างควรมีสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน ทั้งจากภาครัฐและทุกภาคส่วนในสังคมอย่าง “ทั่วถึง” และ “ถ้วนหน้า” สาม กระจายความรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการสังคมผ่านการสร้าง “หุ้นส่วน” ด้วยการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในสังคม ทั้งจากครอบครัว อาสาสมัคร ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม […]

bua

December 9, 2020
1 3 4 5 6