สมการ “ทุกข์-สุข” ยามชรา

 

chara4โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง 80 เตียง ที่ผู้ป่วยจากหลายชุมชนเข้ามาใช้บริการในแต่ละวันจำนวนมากกว่า 300 คนแม้คิวตรวจออกจะยาวไปบ้าง แต่ความสนุกสนานในการรักษาทำ ให้เวลาของการรอคอยผ่านไปอย่างรวดเร็วช่วง 2-3 นาทีในห้องตรวจ ได้สร้างการเรียนรู้ระหว่างกันให้เกิดขึ้น พวงมาลัยดอกมะลิหอมละมุน ที่ยายเตรียมเอาไว้ก่อนออกจากบ้าน คล้องลงไปบนคอแพทย์หนุ่มทันทีที่ได้พบหน้า

เสียงหัวเราะดังลอดจากห้องตรวจใบหน้าเปื้อนยิ้มของยายวัย 60 ปี หลังแกเดินออกจากการพูดคุย ถามไถ่อาการของแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ บอกได้ว่าแกมีความสุขมากแค่ไหน แม้จะไม่ถึงขนาดทุบโต๊ะ แล้วบอกว่า“รูปแบบ” การดูแลผู้ป่วย ในแบบของ รพ.ขนาดกลางในพื้นที่ห่างไกล จ.กาฬสินธุ์แห่งนี้ คือรูปแบบที่ดีที่สุดในประเทศ แต่ก็ยืนยันได้ว่าการทำ งานของพวกเขาไม่เหมือนใคร ทั้งแพทย์ผู้ป่วย มีความสุขในการดูแลซึ่งกันและกัน

chara3

ความทุกข์ ที่ใครหลายคนอยากเดินออกไปให้ไกลที่สุด แต่สำ หรับที่นี้มีสมการความทุกข์เอาไว้คำนวณ สูตรในการดูแลผู้ป่วย จนสามารถสร้างทีมที่เรียกว่า “ทีมไม้เลื้อย” เพื่อดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้วิธีการเยี่ยมบ้าน ใต้หลักการปฐมภูมิแบบใหม่ที่ยึดการดูแลคน มากกว่าการยึดการรักษาโรคเป็นหลักความเข้าในความทุกข์ และการรับฟังทุกข์ของอื่น กลายเป็นสะพานที่นำ พวกเขาไปเชื่อมประสานการทำ งานร่วมกับชุมชน อย่างเป็นธรรมชาติ กลมกลืนและยั่งยืน

ความรู้ประสบการณ์ของการทำ งานร่วมระหว่าง โรงพยาบาล ชุมชน และครอบครัวจึงเป็นเรื่องราวที่งดงาม และควรจะถ่ายทอดบอกว่าแท้ที่สุดแล้ว เพียงแค่รู้จักฟังความทุกข์ของคนอื่นก็สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ได้มากมายด้วยความงดงามที่แอบซ่อนในพื้นที่ห่างไกล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)จึงอยากนำ เสนอประสบการณ์ทำ งานเหล่านี้ เพื่อจุดประกายการทำ งานในพื้นที่ต่อๆไปเพื่อนำ ไปปรับใช้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ไม่มีสูตร” นั่นต่างหากคือสูตรการทำงานที่แท้จริงchara2

คลิกดาวน์โหลดอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้

สมการ "ทุกข์-สุข" ยามชรา