สังคมสูงวัย
นิยาม -สถานการณ์ – การรับมือสังคมสูงวัย
นิยาม -สถานการณ์ – การรับมือสังคมสูงวัย
ใครใครก็ไปโรงเรียน สังคมสูงวัยกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ดาวน์โหลดเอกสารการนำเสนอข้อมูลในเวทีวิชาการเรื่องเตรียมพร้อมประชากรรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบหรือยัง ในหัวข้อ “สูงวัยไม่หยุดทำงาน” ของรศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ,วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุปสาระสำคัญสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอาทิ สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ การคำนวณการจ่ายบำนาญชราภาพ การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ การรับเงินบำนาญของลูกจ้าง ผู้ประกันตน
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับเครือข่ายที่จัดให้มีการสัมมนาแรงงานสูงวัยลมหายใจแห่งอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของกำลังแรงงานผู้สูงวัยที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติในอนาคต
โครงการนำร่องเครือข่ายพัฒนารูปแบบการจ้างแรงงานสูงวัยในสถานประกอบการ ได้ตั้งเป้าหมายสถานประกอบการไว้ 15 แห่ง ระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจ้างงานใหม่ของแรงงานสูงวัยกลุ่ม 55 ปี และ 60 ปี เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นเครือข่ายภาคีในการขับเคลื่อน การจ้างงานผู้สูงอายุและได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดเวทีสัมมนาในหัวข้อ“แรงงานสูงวัย ลมหายใจของอนาคต”เพื่อการขยายแนวความคิดในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นเอกภาพอันเป็นความท้าทายใหม่ของสังคมไทยในอนาคต
กรอบแนวคิดการจ้างงานผู้สูงอายุจัดทำขึ้นโดย รศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัยร่วมที่ทำให้การจ้างงานแรงงานสูงวัยเกิดขึ้นในสถานประกอบการ
ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสังคมสูงอายุแล้วแถมเป็นประเทศที่แก่เร็วมากๆ คือสัดส่วนผู้สูงอายุเพื่มขึ้นอย่างมาก พูดง่ายๆ คือประเทศไทยจะใช้จ่ายเพื่อนสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเป็นสังคมสูงอายุ ทำให้เกิดความวิตกกังวล มองผู้สูงอายุเป็นภาระสังคม ยิ่งเมื่อไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ใช้เงินภาษีเป็นแหล่งทรัพยากรหลักยิ่งวิตกกังวลว่าจะต้องถังแตก แย่ๆ ถ้าไม่รีบปรับระบบ อย่างไรก็ดีหากได้เห็นข้อมูล และความรู้จากวิจัยทั้งในแง่ชีววิทยา และเชิงระบบ อาจทำให้ได้สติกลับมาคิดใหม่ เลิกวิตกกังวล แต่เกิดปัญญาเห็นทางออก ซึ่งมีข้อเท็จจริงอย่างน้อย 3 ประการที่ควรเข้าใจเสียใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้ในการสร้างระบบสุขภาพรองรับสังคมสูงอายุ