หน้าแรก

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

ศึกษาวิจัยและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งไทยและต่างประเทศ และส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินการด้านผู้สูงอายุสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่สังคมโดยรวม

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย

รายงานวิชาการ

ผลวิจัย

รายงานการวิจัย: การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ

รายงานการวิจัย การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ในปี 2563 ซึ่งเป็น “ประชากรรุ่นเกิดหนึ่งล้านคนต่อปี” หรือ กลุ่มสึนามิประชากร มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง เพราะส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ แม้จะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน ก็ยังคิดเป็นงบประมาณที่น้อยกว่าระบบบำนาญของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระยะยาว การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นไปได้ถึงระดับกึ่งกลางหรือมัธยฐานของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาทต่อเดือน หรือ 200 บาทต่อวัน โดยให้ผู้ทำงานอยู่นอกระบบสามารถทำการออม และให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สินและการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich) ซึ่งจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมลงได้ โดยคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้ […]

ข้อเสนอเชิงวิชาการ การพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ

การจัดทำข้อเสนอกลไกและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสูงอายุนี้ อยู่บนฐานของกรอบด้านยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ และได้ดำเนินการอยู่แล้ว นำโดยกระทรวงแรงงาน โดยมีรายละเอียด ตั้งแต่ในขั้นของการกำหนดนโยบายและแผน ไปจนถึงการสร้างกลไกมารองรับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย 5 ข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1: การพัฒนาแผนระดับชาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อน FutureSkills ในปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุในฐานะอีกกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศโดยจัดทำ “แผนระดับชาติด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” โดยแผนดังกล่าวจะกำหนดให้การพัฒนาทักษะการทำงานให้กับผู้สูงอายุต้องดำเนินไปควบคู่กับการส่งเสริมการจ้างงานด้วยทั้งในรูปแบบการจ้างงานต่อเนื่อง การจ้างงานใหม่ การประกอบอาชีพอิสระ (ทั้งแบบเต็มเวลาและบางเวลา) และการสร้างผู้ประกอบการสูงอายุ ข้อเสนอที่ 2: การจัดตั้งคณะทำงานแบบ Multi-agency Task Force เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้สูงอายุแบบบูรณาการและเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยในโมเดลทดลองเสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” ซึ่งอาจจะมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการตั้งคณะทำงาน หรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาทักษะของแรงงานสูงอายุโดยตรง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสูงอายุ เป็นต้น องค์ประกอบของคณะทำงานในเบื้องต้นควรประกอบด้วย กระทรวงและหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ดำเนินงานภายใต้แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ในด้านส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็ควรบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอิสระด้านการกำหนดสมรรถนะการทำงาน และสภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงควรมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วยในฐานะเป็นอีกตัวแสดงหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนายจ้างกับลูกจ้างได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะทำงาน มีดังนี้ กระทรวงแรงงาน: […]

ข่าว บทความ

กิจกรรม และเกร็ดความรู้สำหรับผู้สูงอายุ

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 3

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งถือเป็นความท้าทายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก วารสาร Aging Focus ฉบับที่ 3 ได้นำเสนอประเด็นสำคัญภายใต้หัวข้อ “สวัสดิการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุไทย” เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมและยั่งยืนสำหรับผู้สูงอายุ เนื้อหาภายในฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิชาการ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ: การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ให้กลับมามีชีวิตที่มั่นคงในครอบครัวและชุมชน 2. โรงเรียนผู้สูงอายุ: แนวทางการส่งเสริมทักษะและความรู้ใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุให้สามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่ 3. การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนโดยชุมชน: บทบาทของชุมชนในการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน 4. เศรษฐศาสตร์การเมืองของอัตราความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์เชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างระบบสวัสดิการที่มั่นคง วารสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเหล่านี้จะสร้างความตระหนักรู้และผลักดันการพัฒนานโยบายที่เหมาะสมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยต่อไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในวารสาร Aging Focus ฉบับที่ 3  

bua

October 22, 2024

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2

Aging Focus: จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับที่ 2 สังคมสูงวัยในบทบาทของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมความพร้อม พัฒนาและยกระดับทักษะการทำงานของผู้สูงอายุ เป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตในวัยเกษียณได้เพียงพอ และสามารถทำงานตามความต้องการและเหมาะสมสมรรถภาพร่างกาย ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม วารสารฉบับนี้จึงนำเสนอข้อมูลสถานการณ์และแนวทางการรองรับสังคมสูงวัยในด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มรายได้ รวมถึงใช้นวัตกรรมและการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีทักษะที่จำเป็นในอนาคต

bua

August 16, 2024

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล”

ยังโอลด์ (Young-old) “โอกาสบนโลกดิจิทัล” แรงบันดาลใจแห่งจากสร้างสรรค์สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบบนโลกดิจิทัล   หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือในชุดหนังสือ 2 เล่มที่ประมวลองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” (Development of Elderly’s Technology Intelligence to Strengthen their Security in Income, Health and Living upon New Normal Aging Society) โครงการวิจัยนี้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2567    

bua

May 23, 2024

องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย

✧ Elderly Server : โปรแกรมฐานข้อมูลผู้สูงอายุ

โปรแกรมระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับท้องถิ่น

✧ Active ageing assessment tool: แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ

สำหรับการประเมินระดับความมีชีวิตชีวา (Active ageing) ของผู้สูงอายุในระดับบุคคล

ติดต่อเรา

  • มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
    Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI)
    1168 พหลโยธิน 22 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • โทรศัพท์ 02 511 5855 โทรสาร 02 939 2122
  • Aging@thainhf.org
  • เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

ติดตามเรา

ส่งข้อความ

ภาคีเครือข่าย