รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 ในปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย 66 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด อรรถบทของรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยฉบับนี้กล่าวถึงเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยที่พึ่งพาแหล่งรายได้หลักจากการทำงาน และเงินโอนหรือสวัสดิการจากภาครัฐโดยเฉพาะเบี้ยยังชีพ การพึ่งพารายได้จากบุตรหรือการเกื้อหนุนจากครอบครัว การพึ่งพารายได้จากเงินออม และทรัพย์สินของผู้สูงอายุไทย  

patthawadee

October 2, 2023

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่สองที่นำเอาเรื่องการระบาดของ โควิด-19 กับผู้สูงอายุไทยมาเป็นอรรถบทสำคัญที่จะทำให้เห็นข้อมูลและข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่ ผู้สูงอายุไทยเผชิญอยู่ในภาวะของโรคระบาดระดับโลกและเป็นโรคระบาดที่ต้องยอมรับว่าฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนโยบายหรือประชาชนทั่วไป หรือแม้กระทั่งในวงการสาธารณสุขเองก็มีประสบการณ์ น้อยมากว่าจะอยู่กับการควบคุมการระบาดของโรคอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ที่พยายามควบคุมการระบาด โควิด-19 กระทบชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในสังคม ถึงขั้นมีคำกล่าวว่า กลัวอด ไม่กลัวโควิด รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 หวังจะสะท้อนข้อมูลส่วนหนึ่งจากมุมมองของผู้สูงอายุไทย เท่าที่ได้มีการรวบรวม หรือศึกษาเจาะลึก โดยฝ่ายต่างๆ    

bua

November 7, 2022

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563 ผู้สูงอายุกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐทยอยออกมาตามช่วงเวลา เช่น มาตรการปิดเมือง ปิดสถานบริการและสนามกีฬาบางประเภท กำหนดเวลาเปิดปิดร้านอาหารและห้างสรรพสินค้า ส่งเสริมให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคม ขอความร่วมมือให้บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำงานที่บ้าน มาตรการเหล่านี้ช่วยทำให้อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ตลอดปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมไม่ถึง 7 พันราย ซึ่งนับว่าไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ในจำนวนนี้ผู้ติดเชื้อเป็นผู้สูงอายุไม่ถึงร้อยละ 10 และมีผู้ป่วยสูงอายุที่เสียชีวิตด้วยโควิด-19 นับถึงสิ้นปี 2563 เพียง 29 ราย อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่อาจเกิดขึ้นอีกในปีต่อไป และหากเรามีมาตรการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยได้ โดยเฉพาะในประชากรผู้สูงอายุ  

bua

July 30, 2021

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ   การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ทั้งในแง่สิทธิประโยชน์และความครอบคลุม การจะส่งเสริมและพัฒนากลไกการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น อาจทำได้โดยการพิจารณาถึงข้อเสนอแนะสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง ทบทวนและคำนึงถึงความยั่งยืน อย่างจริงจังต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุผ่านโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือหรือส่งเสริมสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เช่น การให้เบี้ยยังชีพที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการด้านการทำงานและการมีรายได้สำหรับผู้สูงอายุ แม้ว่าจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุได้เฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันความท้าทายของภาระทางด้านงบประมาณของประเทศและวิธีการนำเงินที่ได้รับเพื่อไปสร้างประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและการดำรงชีวิตส่วนบุคคลในระยะยาว ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายให้ภาครัฐต้องขบคิดพิจารณา สอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับปรัชญาในการจัดสวัสดิการสังคมให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งสำหรับผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มวัยอื่นในสังคมไทย ด้วยการก้าวให้พ้นจากแนวคิดที่มุ่งเน้น ‘การสงเคราะห์’ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เพื่อเดินหน้าไปสู่การยอมรับแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานของ ‘สิทธิพลเมือง’ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด หรือมีเศรษฐานะใด ต่างควรมีสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน ทั้งจากภาครัฐและทุกภาคส่วนในสังคมอย่าง “ทั่วถึง” และ “ถ้วนหน้า” สาม กระจายความรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการสังคมผ่านการสร้าง “หุ้นส่วน” ด้วยการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในสังคม ทั้งจากครอบครัว อาสาสมัคร ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม […]

bua

December 9, 2020

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุยังคงอยู่ในกำลังแรงงานนานที่สุด เสริมทักษะหรือเพิ่มทักษะใหม่ให้กับแรงงานสูงอายุ ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับแรงงานสูงอายุด้วยการออกแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับความต้องการและเงื่อนไขตามวัยของแรงงาน สร้างแรงจูงใจ และขยายสิทธิประโยชน์ให้กับนายจ้างที่จ้างงานผู้สูงอายุ ขยายอายุในการเริ่มรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ยาวนานกว่าที่อายุ 55 ปีขึ้นไป ในกรณีแรงงานภาคเอกชนที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม หามาตราการส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อมีหลักประกันรายได้ยามชราภาพ เพิ่มบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกิจกรรม CSR ของภาคเอกชนในการส่งเสริมสร้างงานแก่แรงงานสูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ปรับแก้ระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมทั้งการขยายอายุเกษียณของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ สร้างมโนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับนิยามผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมเห็นว่าผู้สูงอายุยังมีพลังและมีศักยภาพเป็นผู้ผลิตในตลาดแรงงานได้  

noawarat

November 7, 2019

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2560

การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงต้นสหัสวรรษนี้ ขณะนี้โลกของเราได้กลายเป็นสังคมสูงอายุไปแล้ว สำหรับประเทศไทย ประชากรกำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างเร็วมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดในเวลาไม่เกิน 15 ปีข้างหน้านี้ รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560 นี้ นำเสนอในอรรถบท การสูงวัยอย่างมีพลัง ซึ่งหมายถึง การที่ประชากรเจริญวัยขึ้นอย่างมีพลัง คือมีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางรายได้ และการอยู่อาศัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม

noawarat

December 7, 2018

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ประจำปี 2559

  รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559 มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่อาจจัดอยู่ในภาวะเปราะบาง หนึ่งในสามของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน บุตรซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมีสัดส่วนลดลง ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียว หรือตามลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง มีประมาณ 4 แสนคน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีประมาณ 6 แสนคน ในปี 2559 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก

noawarat

January 12, 2018

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปีพ.ศ. 2558

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2558 ได้รวบรวมสถิติข้อมูลสถานการณ์การสูงวัยของประชากรไทยในปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นการฉายภาพสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

noawarat

January 4, 2017

รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ข้อมูลสถานการณ์ทางประชากรจากแหล่งต่างๆ แสดงให้เห็นตรงกันว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัย และยังคงดำเนินต่อไปในอนาคตด้วยอัตราที่เร็วมาก สถานการณ์ทางประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

noawarat

November 25, 2015
1 2 3