ข่าวดี! กรมบัญชีกลาง เผย เบี้ยคนชราเข้าบัญชีแล้ว
กรมบัญชีกลางได้โอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ ประจำเดือนกันยายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้ผู้มีสิทธิในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563แล้ว
กรมบัญชีกลางได้โอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ ประจำเดือนกันยายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้ผู้มีสิทธิในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563แล้ว
เวทีเสวนา “โควิด-19 : ผลกระทบต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ” เปิดงานวิจัย การศึกษาการปรับตัวของลูกจ้างในระบบภาคเอกชนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปที่ เปลี่ยนสถานการณ์ทำงานไปสู่การทำงานในภาคนอกระบบ พบ 4 ผลกระทบของการปรับตัวของลูกจ้างในการเปลี่ยนงาน พร้อมชูข้อเสนอ 3 ส่วน ฝึกอบรมทักษะใหม่ให้กับพนักงาน ส่งเสริมการออม และให้ทำประกันสังคมต่อ (มาตรา 39)
เปิดผลการศึกษารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย พบการจ้างงานผู้สูงอายุ 2 รูปแบบคือจ้างต่อเนื่องหลังเกษียณ 55 ปี และจ้างงานแบบจ้างใหม่ 60 ปีขึ้นไป พร้อมเสนอ 4 ข้อแนะนำในการจ้างงานผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ
จากการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มสถานการณ์ทำงานของผู้สูงอายุไทยในช่วงปี 2547 ถึง2562 นำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 10 ข้อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณานโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมการทำงานหรือการมีงานทำรวมถึงการขยายอายุการทำงานของผู้สูงอายุในอนาคต
เปิดผลวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจ้างงานต่อเนื่อง ในสถานประกอบการและทัศนคติของนายจ้างในภาคเอกชน พร้อมเปิด 6 ข้อเสนอแนะรัฐสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงวัยให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง
หน่วยงานที่ทำงานด้านผู้สูงอายุหลากหลายองค์กรเปิดเวทีเสวนาหาแนวทางการเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์จากพิษโควิด-19 ขณะที่หลากนักวิชาการร่วมระดมความเห็นเสนอแนะหน่วยงานรัฐและเอกชนจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ พร้อมเปิดข้อมูลงานวิจัยพบแรงงานสูงอายุเป็นกลุ่มแรกที่ถูกเลือกให้พักงานในธุรกิจประเภทงานบริการ ชี้พิษโควิดยังกระทบแรงงานผู้สูงอายุภาคเกษตรกรรม
ผลการวิจัย “สถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ นางสาวสุภรต์ จรัสสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่า ในปี 2562 มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ยังคงทำงานอยู่ประมาณ1ใน3 หรือร้อยละ 34.5
มส.ผส. ชี้ ข้อดีผู้สูงอายุยังทำงาน ทำให้ไม่อับเฉา-สร้างประโยชน์ให้สังคม ชี้ ไม่ใช่ของโบราณวางไว้บนหิ้ง แนะเก็บออมตั้งแต่วัยทำงาน เรียนรู้ตลอดชีวิต ดูแลสุขภาพ-ออกกำลังกาย หนทางสู่บั้นปลายอย่างมีความสุข
โรคซึมเศร้า พัฒนามาจากภาวะซึมเศร้า (depression) ซึ่งเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการซึ่งประสบความยากลำบากในการเข้ารับบริการสาธารณสุข บุคคลกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ด้วยเหตุนี้ ผู้ใกล้ชิดหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุจึงควรมีทักษะและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น การประเมินลักษณะอาการ การค้นหาและคัดกรอง การดูแลเบื้องต้นหรือการดูแลควบคู่กับแผนการรักษาของแพทย์ การประเมินภาวะแทรกซ้อน และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ