สิทธิคนไทยกับการตรวจสุขภาพช่องปากเชิงป้องกัน

เปิดข้อเสนอขับเคลื่อนนโยบาย 80/20 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ ตอนที่6 : สิทธิคนไทยกับการตรวจสุขภาพช่องปากเชิงป้องกัน รายงาน “จัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบาย 8020 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ” โดย   ทพญ.ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล  ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่า การตรวจฟันและช่องปากโดยทันตแพทย์ หรือทันตะบุคลากร จะทำให้ผู้ป่วยรับรู้โรคที่เป็นอยู่ แม้จะไม่มีอาการแสดงผู้ป่วยจะได้ตระหนักถึงผลเสีย รู้แนวทางปฏิบัติเฉพาะของตน

noawarat

December 14, 2020

เปิดข้อเสนอขับเคลื่อนนโยบาย 8020 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ ตอนที่5 : ประเทศไทยกับเป้าหมาย 8020

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่นำแนวคิด “8020” ของญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศโดยเป้าหมาย 8020 ในแบบฉบับของไทย มีแผนงานและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ที่น่าสนใจดังนี้ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการบริการส่งเสริมป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากเพิ่มขึ้นซึ่งจะลดปริมาณผู้สูงอายุที่มีโรคในช่องปากและการสูญเสียฟัน รวมทั้งคงสภาพการใช้งานหลังเกิดโรคและการสูญเสียฟัน ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง

noawarat

December 12, 2020

ถอดความสำเร็จของญี่ปุ่น กว่าครึ่งของผู้สูงอายุ 80 ปีมีฟันแท้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่

ชาวญี่ปุ่นอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ยังมีฟันแท้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ ถึงร้อยละ 51.2  สิ่งนี้เป็นผลพวงมาจากการดำเนินนโยบาย8020 ที่ตั้งเป้าไว้ว่า ให้คนรักษาฟันของตัวเองไว้ให้ได้อย่างน้อย 20 ซี่ แม้อยู่ในวัย 80

noawarat

December 11, 2020

ระบบบริการด้านทันตสุขภาพทั่วโลก พบปัญหาความไม่เท่าเทียม

องค์การอนามัยโลก (WHO ) เปิดเผยเกี่ยวกับผลการศึกษา ในประเด็น สุขภาพช่องปาก: ความเสมอภาคและปัจจัยทางสังคม โดยชี้ว่า ยังมีความไม่เท่าเทียมกันในระบบบริการสุขภาพช่องปากในหลายประเทศ จนกลายเป็นปัญหาของโลก โดยความไม่เท่าเทียมกันเหล่านี้แตกต่างกันไปตามขนาดและขอบเขต 

noawarat

December 10, 2020

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ   การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ทั้งในแง่สิทธิประโยชน์และความครอบคลุม การจะส่งเสริมและพัฒนากลไกการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น อาจทำได้โดยการพิจารณาถึงข้อเสนอแนะสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง ทบทวนและคำนึงถึงความยั่งยืน อย่างจริงจังต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุผ่านโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือหรือส่งเสริมสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เช่น การให้เบี้ยยังชีพที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการด้านการทำงานและการมีรายได้สำหรับผู้สูงอายุ แม้ว่าจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุได้เฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันความท้าทายของภาระทางด้านงบประมาณของประเทศและวิธีการนำเงินที่ได้รับเพื่อไปสร้างประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและการดำรงชีวิตส่วนบุคคลในระยะยาว ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายให้ภาครัฐต้องขบคิดพิจารณา สอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับปรัชญาในการจัดสวัสดิการสังคมให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ทั้งสำหรับผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มวัยอื่นในสังคมไทย ด้วยการก้าวให้พ้นจากแนวคิดที่มุ่งเน้น ‘การสงเคราะห์’ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เพื่อเดินหน้าไปสู่การยอมรับแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานของ ‘สิทธิพลเมือง’ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเพศใด วัยใด หรือมีเศรษฐานะใด ต่างควรมีสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน ทั้งจากภาครัฐและทุกภาคส่วนในสังคมอย่าง “ทั่วถึง” และ “ถ้วนหน้า” สาม กระจายความรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการสังคมผ่านการสร้าง “หุ้นส่วน” ด้วยการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในสังคม ทั้งจากครอบครัว อาสาสมัคร ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม […]

bua

December 9, 2020

เช็คพฤติกรรมดูแลฟันผู้สูงอายุ ผลสำรวจชี้ พบหมอฟันแค่1ใน3 ยังเจอความเสี่ยงดื่มสุรา -สูบบุหรี่เฉลี่ยวันละ9มวน

เปิดข้อเสนอขับเคลื่อนนโยบาย 80 / 20 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ ตอนที่2: เช็คพฤติกรรมดูแลฟันผู้สูงอายุ  ผลสำรวจชี้ พบหมอฟันแค่1ใน3  ยังเจอความเสี่ยงดื่มสุรา -สูบบุหรี่เฉลี่ยวันละ9มวน

noawarat

December 9, 2020

เปิดข้อเสนอขับเคลื่อนนโยบาย 8020 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ ตอนที่ 1

“สุขภาพช่องปากที่ดี” จะส่งผลให้มีสุขภาพดี  และจะส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวที่มีคุณภาพด้วย  ซึ่งสุขภาพช่องปาก ไม่ได้หมายถึงการไม่มีโรคของช่องปากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีฟันเพียงพอที่จะเคี้ยวอาหารด้วยในรายงาน “จัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบาย 8020 สุขภาพช่องปากเพื่อผู้สูงอายุ” โดย   ทพญ.ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล  ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้ระบุประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่สำคัญ 7 ปัญหา

noawarat

December 7, 2020

จับเข่าคุย 3 นักวิชาการ ทำอย่างไรให้มีอยู่-มีกินในยามชรา

ในเวทีเสวนาหลักประกันทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุ ที่จัดขึ้นโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)  ซึ่งประกอบไปด้วย รศ.ดร.สันติ กิรพัฒน์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,    ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.สุภารัตน์ ตันทนงศักดิ์กุล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการพูดคุยถึง เรื่องนี้ ในหัวข้อ “สังคมสูงอายุ : ความพร้อมที่ต้องตั้งรับ กับความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ

noawarat

December 7, 2020

เอกชนเห็นพ้อง “คุ้มค่า” จ้างงานผู้สูงอายุ แต่ยังขาดแรงจูงใจจากรัฐเท่าที่ควร

แรงจูงใจในการจ้างงานผู้สูงอายุของบริษัทเอกชน มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน เพราะผลจากการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ , การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการทำ CSR หรือ มีปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงาน และอัตราการลาออกที่สูงในบางตำแหน่งงานแต่ทว่าผลลัพท์ของการรับผู้สูงอายุเข้าทำงานกลับได้ผลที่ “คุ้มค่า” 

noawarat

November 25, 2020
1 15 16 17 18 19 44