เปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในตำบล
เปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย เผย ผลงาน จัดระบบดูแลผู้สูงอายุในตำบล ทำผู้สูงอายุภาวะพิงพิง ได้รับการดูแลกว่า 2 แสนราย เปลี่ยนจากคนติดเตียงเป็นติดบ้าน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
เอกสาร ไฟล์ ข้อมูล ชุดสื่อ ฯลฯ สำหรับดาวน์โหลด
เปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย เผย ผลงาน จัดระบบดูแลผู้สูงอายุในตำบล ทำผู้สูงอายุภาวะพิงพิง ได้รับการดูแลกว่า 2 แสนราย เปลี่ยนจากคนติดเตียงเป็นติดบ้าน มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากวิกฤตโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการใช้มาตรการล็อกดาวน์ แต่หากพิจารณาอย่างรอบด้านแล้วจะพบว่าการเข้าถึงบริการและการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในหลายแง่มุม ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาเดิมที่มีมาแล้วอยู่ก่อนหน้านี้
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเห็นบทบาทของอาสาสมัครในการดูแลผู้สูงอายุได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในพื้นที่ต่างจังหวัด อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร(อสส.) ซึ่งต่างมีส่วนอย่างสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุในภาวะวิกฤต ทั้งในรูปแบบของการสอบถามสุขภาวะทางใจ และการนำอาหารไปแจกจ่ายให้ที่บ้านหรือชุมชนใกล้บ้านของผู้สูงอายุ
เรียกได้ว่าในช่วงวิกฤติโควิดนี้ทำให้บริการส่งยาทางไปรษณีย์ไปที่บ้านถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติมากขึ้น แม้จะเป็นเพียงโครงการนำร่อง แต่ก็มีส่วนช่วยลดปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทางไปพบแพทย์ของผู้สูงอายุที่มักมีโรคประจำตัว และต้องได้รับยาเป็นประจำในช่วงที่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์
วิธีการเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐ ในโครงการความช่วยเหลือ 5,000 บาท ที่ต้องลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ ถือเป็นช่องว่างทางเทคโนโลยีที่เป็นอุปสรรคหนึ่งในการเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือภาครัฐจากรัฐบาล
มาตรการล็อกดาวน์ และให้ผู้สูงอายุอยู่แต่ในที่พักอาศัย ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิตอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้ และยังพบว่าในช่วงล็อกดาวน์นี้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบทางจิตใจมากกว่าในช่วงสถานการณ์ปกติ
ในด้านการใช้เทคโนโลยี พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 83.6 ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีจ่ายเงินแทนการใช้เงินสดในช่วงโควิดเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโรค ซึ่งมีสัดส่วนการไม่ใช้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มวัยอื่น และผู้สูงอายุ 2ใน3 หรือร้อยละ 69.1 ไม่ได้ใช้งานแอพพลิเคชั่นไทยชนะ ในการลงทะเบียนเข้าออกสถานที่ ซึ่งมีสัดส่วนการไม่ใช้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มวัยอื่น
รัฐบาลต้องเร่งกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆเพื่อรองรับสังคมสูงอายุให้รวดเร็วทันสถานการณ์ และต้องมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับระดับภูมิภาคของประเทศมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงพบว่ามีประเด็นท้าทายที่เกี่ยวข้องหลายประการ
จะเห็นได้ว่าการบูรณาการทางวัฒนธรรมและศาสนาสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางสังคมรัฐได้ให้ความสำคัญในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ แตกต่างจากด้านบริบททางวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นของประเทศ เนื่องจากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ รัฐได้นำแนวทางสังคมพหุวัฒนธรรมมาบูรณาการ ใช้การสร้างเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ซึ่งประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม